หน้า:ตำนานพระปริตร - ดำรง - ๒๔๖๒.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๖

พระสงฆ์ ๕ รูปนั่งสวดบนพระแท่นที่บรรทม และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับทรงสดับสวดภาณวารในห้องนั้น แบ่งภาณวารสวดเป็น ๓ วัน ถึงรัชชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เปลี่ยนมาสวด (เป็นส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) เหมือนกับสวดภาณวารในพระราชพิธีอื่น ๆ คือ ตั้งเตียงสวดที่ท้องพระโรง พระสงฆ์ขึ้นสวดสำรับละ ๔ รูป ผลัดกันสวดทีละ ๒ รูป มีพระเถระนั่งปรกอยู่เตียงหนึ่งต่างหากอีกองค์หนึ่ง สวดทั้งกลางวันกลางคืนตลอด ๓ วัน ๓ คืน ถ้าเป็นพิธีอย่างน้อย ก็สวดวันกับคืนหนึ่ง พระสงฆ์ที่สวดภาณวารนั้น ถ้าเป็นพิธีใหญ่ เช่น บรมราชาภิเษก พระราชาคณะสวด ถ้าเป็นอย่างสามัญ พระพิธีธรรมสวด ยังเป็นประเพณีมาจนปัจจุบันนี้

การที่ไทยเราได้ราชปริตของชาวลังกามาเป็นตำรา สันนิษฐานว่า คงได้ราชปริตอย่าง ๗ ตำนานมาก่อน จึงได้สวดกันแพร่หลายแต่อย่างเดียว ส่วนราชปริตอย่าง ๑๒ ตำนานนั้นคงได้มาต่อภายหลัง จึงสวดฉะเพาะงานใหญ่บางอย่าง แต่พิเคราะห์ดูในราชปริต มีคาถาอื่นนอกจากที่รวมไว้ในภาณวารเพิ่มเติมหลายอย่าง ที่แทรกอยู่ข้างต้น เช่น คาถา "สมฺพุทฺเธฯ" ก็มี แทรกลงต่อข้างท้ายพระปริต เช่น คาถามหากรุณิโกนาโถฯ เป็นต้น ก็มี สันนิษฐานว่า คาถาแทรกเหล่านั้นคงมีนักปราชญ์เลือกคัดมาแต่พระไตรปิฎกหรือแต่งขึ้นใหม่แล้วเอาสวดเพิ่มในพระปริตเพื่อจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น แล้วก็เลยถือเป็นแบบแผนมีมาแล้วแต่ในลังกาทวีป เพราะฉะนั้น เมื่อรับ