หน้า:ตำนานพระปริตร - ดำรง - ๒๔๖๒.pdf/29

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๔

หอเสถียรธรรมปริต (ซึ่งหอพระสมุดฯ ได้พิมพ์ไว้ในประชุมประกาศพระราชพิธีจร) พระปริตที่พระครูสวดทำน้ำมนตร์นั้นก็สวด ๗ ตำนานนั้นเอง มิได้ใช้พระปริตอื่นแปลกออกไป

ยังมีวิธีสวดพระปริตฉะเพาะงานอีกอย่างหนึ่ง คือ ในงานพระราชพิธีแรกนา เมื่อสวดพระปริต ๑๒ ตำนานแล้ว สวดคาถาพืชมงคลเพิ่มเข้าด้วยฉะเพาะงานนั้นอย่างหนึ่ง งานฉลองอายุ ถ้าสวดมนตร์วันเดียว สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรก่อน แล้วสวด ๗ ตำนานต่อ มีขัดตำนาน แต่พระปริตสวดอย่างสังเขป อีกอย่างหนึ่งนั้น ในงานบุพพเปตพลี เช่น ทำบุญหน้าศพ สัปตมวาร ปัญญาสมวาร และศตมาหะ สวดอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และสูตรอื่นบ้าง บางทีก็สวดธัมมจักกัปปวัตตสูตร สวดมนตร์อย่างนี้มีพระอภิธรรมต่อท้าย ที่จริง การสวดมนตร์ในเรื่องบุพพเปตพลีเป็นสาธยายธรรม แต่กระบวนที่สวด ปรุงเป็นอย่างสวดพระปริต หาใช่เป็นพระปริตตรงตามตำราเดิมไม่

มีบทสวดมนตร์อยู่อีกคัมภีร์ ๑ เรียกว่า "มหาทิพมนตร์" มีมนตร์ต่าง ๆ รวมอยู่ในคัมภีร์นั้น คือ มหาทิพมนตร์ ๑ ชัยมงคล ๑ มหาชัย ๑ อุณหิสวิชัย ๑ มหาสาวัง ๑ รวม ๕ อย่างด้วยกัน สำหรับสวดเพื่อให้เกิดสวัสดีมีชัยและให้อายุยั่งยืน ได้ยินว่า แต่โบราณ เมื่อยกกองทัพไปทำสงคราม ย่อมสอนให้พวกทหารสวดมหาทิพมนตร์ในเวลาค่ำทุก ๆ วัน อีกสถานหนึ่ง ในงานมงคล เช่น ทำบุญฉลองอายุ เป็นต้น มักให้นักสวด ๔ คน