หน้า:ธศย ๑๒๗.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๓๓๖
ราชกิจจานุเบกษา

ข้อ  ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดจะฟ้องคดีนั้นเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม อัยการมีอำนาจรับตรวจข้อความนั้นแล้วเปนโจทย์ได้

ข้อ  อัยการมีอำนาจที่จะถอนฟ้องคดีที่อัยการเปนโจทย์ หรือจะไม่ฟ้องคดีที่ศาลไต่สวนส่งให้ฟ้องก็ได้ แต่อัยการต้องแจ้งความนั้นไปให้ศาลทราบ

มาตรา ๓๖ กองตระเวรแลตำรวจภูธรจะมีอำนาจเปนโจทย์ในศาลได้เพียงไรในคดีอาญา ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎข้อบังคับ

มาตรา ๓๗ ถ้ากระทรวงหนึ่งกระทรวงใดจะตั้งเจ้าพนักงานไปว่าความ ให้มีตราส่งมายังกระทรวงยุติธรรมเพื่อจะได้ส่งไปยังศาล แล้วให้ถือว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นมีอำนาจเหมือนอัยการในความเรื่องนั้น ๚


ว่าด้วย
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง
รัตนโกสินทร ๑๒๗

  • หมวดที่ ๑

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก ๑๒๗

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ในโรงศาลทั้งปวงทั่วไปตลอดพระราชอาณาเขตร์ ยก
เว้นไว้แต่ในศาลพิเศษซึ่งมีข้อบังคับสำหรับศาลนั้นไว้แล้ว แลในศาลที่มีธรรมเนียมในสาสนาใช้ปนกฎหมายอยู่ จะไม่ใช่ตามวิธีพิจารณานี้ก็ได้

หมวดที่ ๒ ว่าด้วยอำนาจศาล

มาตรา  คดีที่ได้พิพากษาเด็ดขาดแล้ว ห้ามไม่ให้มารื้อร้องฟ้องกันอีก

มาตรา  ผู้ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ของผู้พิพากษา มีข้อห้ามไม่ให้กระทำการนั้นเปนอันขาด ในข้อที่กล่าวต่อไปนี้ คือ

 ถ้าผู้พิพากษานั้นเปนผู้มีผลประโยชน์ที่ได้ที่เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีอันนั้นด้วยก็ดี

 หรือถ้าเปนญาติวงษ์วารกับคู่ความฝ่ายใด ๆ โดยทางสายโลหิตสืบตระกูลต่อกัน หรือโดยทางเปนลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายใน ๓ ชั้นก็ดี หรือเปนวงษ์วารเกี่ยวพันกันโดยทางแต่งงานนับได้เพียง ๒ ชั้นก็ดี

 หรือถ้าเปนผู้ที่ได้เบิกความเปนพยานโดยที่ได้รู้ได้เห็นหรือโดยเปนผู้ชำนาญการพิเศษที่เกี่ยวข้องในคดีนั้นก็ดี ในข้อหนึ่งข้อใดเหล่านี้ ต้องห้ามไม่ให้เปนผู้พิพากษาในคดีนั้นเปนอันขาด

มาตรา  เมื่อโจทย์จำเลยมาถึงศาลพร้อมกันได้เมื่อใด ให้ผู้พิพากษามีอำนาจว่ากล่าวเปรียบเทียบให้คู่ความปรานีปรานอมยอมกันได้