หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๗) - ๒๔๗๘.pdf/266

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๔๘

ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายน่าฝ่ายในแลราษฎรในกรุงนอกกรุงให้ทราบทั่วกันว่า เมื่อณวันพฤหัศบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ นพศก อำแดงจั่นทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายกล่าวโทษนายเอี่ยมผัวว่า ลักเอาชื่ออำแดงจั่นไปขายไว้แก่ผู้มีชื่อ อำแดงจั่นไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นด้วย ครั้นความทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทดังนี้ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า ผัวลักเอาชื่อภรรยาไปขาย ภรรยาไม่ได้รู้เห็นด้วย จะเรียกว่าเปนเรือนเบี้ยไม่ควร แต่กฎหมายเก่านั้นว่าไว้อย่างไร ยังหาทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทไม่ ณวันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ปีเถาะ นพศก จึงมีพระราชหัถเลขาให้พระอินทรเทพเชิญไปถามลูกขุน ๆ พร้อมกันคัดบทกฎหมายเก่าทูลเกล้าฯ ถวายเข้ามา ดังนี้ (ถ้าผัวแลพ่อแม่นายเงินเอาชื่อลูกเมียข้าคนลงในกรมธรรมขาย ท่านว่า เปนสิทธิ แม้นว่าเจ้าสินบอกก็ดี มิได้บอกก็ดี แก่ตัวเรือนเบี้ยซึ่งมีชื่ออยู่ในกรมธรรมนั้น ท่านว่า เปนสิทธิได้โดยรบินเมืองท่าน เหตุว่า เจ้าผัวแลพ่อแม่นายเงินนั้นเปนอิศรภาพ) (บทหนึ่งว่า เมียก็ดี ลูกก็ดี เอาชื่อพ่อแม่ผัวลงในกรมธรรมขาย ท่านว่า มิเปนสิทธิ เหตุว่า เมียลูกนั้นมิได้เปนอิศรแก่ผัวแลพ่อแม่นั้น) กฎหมายเดิมมีอยู่เช่นนี้ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า กฎหมายนี้ เมื่อพิเคราะห์ดู เหมือนผู้หญิงเปนควาย ผู้ชายเปนคนไป หาเปนยุติธรรมไม่ ให้ยกเสีย จึงมีพระราชบัญญัติใหม่ว่า ถ้าผัวจะเขียนชื่อเมียในสารกรมธรรมขาย ถ้าเมียมิใช่เมียทาษมีค่าตัวมีสารกรมธรรมในมือผัวแล้ว ต่อเมียยอมให้ขายลงลายมือแกงใดด้วยเปนสำคัญผู้เขียนสารกรมธรรม ฤๅมีผู้นั่งเปนพยานรู้เห็นด้วย จึงเปนอันขาย ควรถือว่าเปนตัวเรือนเบี้ยได้ ถ้า