หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๘) - ๒๔๗๘.pdf/218

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐๑

ปี ๑๑ ปี เจ็ดตำลึง ๑๒ ปี ๑๓ ปี ๑๔ ปี ห้าตำลึงกึ่ง ๑๕ ปี ๑๖ ปี ๑๗ ปี สามตำลึงกึ่ง ๑๘ ปี ๑๙ ปี ๒๐ ปี ตำลึง ๑ ๚ะ

หญิงอายุเดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือน ตำลึงหนึ่ง ๔ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือน ตำลึงกึ่ง ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน สองตำลึง ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน สองตำลึง ๑ ปี ๒ ปี สามตำลึง ๓ ปี ๔ ปี สี่ตำลึง ๕ ปี ๖ ปี ห้าตำลึง ๗ ปี ๘ ปี เจ็ดตำลึง ๙ ปี ๑๐ ปี ๑๑ ปี หกตำลึง ๑๒ ปี ๑๓ ปี ๑๔ ปี ห้าตำลึงสามบาท ๑๕ ปี ๑๖ ปี ๑๗ ปี สามตำลึง ๑๘ ปี ๑๙ ปี ๒๐ ปี สามบาท ถึง ๒๑ ปี หมดค่าตัวทั้งชายทั้งหญิง ตรางกระเษียรอายุทั้งขึ้นทั้งลดดังนี้ ถ้าคนเกิดในปีเถาะ นพศก ขึ้นไป แลจะตัดสินคดีถ้อยความอื่น ๆ ให้ใช้กระเษียรอายุในกรมศักเดิมเมื่อจุลศักราช ๙๕๕ ปีรกา เบญจศก โน้น ๚ะ

 มาตรา  ลูกทาษชายหญิงซึ่งเกิดในเรือนเบี้ยนายเงินตั้งแต่ปีมโรง สัมฤทธิศก ต่อไป จะอยู่กับนายเงินเดิมตลอดไปจนอายุถึง ๒๑ ปีก็ดี ไม่ได้อยู่กับนายเงินเดิม จะยักย้ายวางเงินไปอยู่กับนายเงินที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ในระหว่างยังไม่ถึง ๒๑ ปีก็ดี ให้คิดพิกัดกระเษียรอายุตามขึ้นตามลดต่อไปทุก ๆ นายเงิน กว่าลูกทาษชายหญิงอายุจะได้ถึง ๒๑ ปี พ้นค่าตัวเปนไทย ๚ะ

 มาตรา  ลูกทาษ เปนชายก็ดี เปนหญิงก็ดี ที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก แลในปีอื่น ซึ่งจะช่วยไถ่กันต่อ ๆ ไปนั้น ให้คิดกระเษียรอายุขึ้นลดตามพิกัดแบบนี้ คือ ค่าตัวเดิมอ้ายกอผัว อีขอเมีย ๒ คน เงิน ๓ ชั่งห้าตำลึง เกิดลูกในเรือนเบี้ยนายเงินที่หนึ่ง ๒ คน ชายชื่อ อ้ายคอ หญิงชื่อ อีงอ อยู่กับนายเงินที่หนึ่งจนอายุอ้ายคอได้