หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๓๖) - ๒๔๗๗.pdf/323

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๐๑



มาตรา๑๑หนี้นั้น ท่านว่า จะก่อให้เกิดขึ้น หรือแก้ไข หรือเลิกเสียก็ได้ด้วยความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีตามแต่เขาจะเห็นควร

มาตรา๑๒ความตกลงกัน หรือข้อหนึ่งข้อใดในความตกลงนั้น ซึ่งตัดทอน ยกเว้น หรือแก้ไขบทกฎหมายอันเกี่ยวแก่รัฐประศาสโนบาย หรือความปลอดภัยแห่งบุคคลหรือทรัพย์สินนั้น ท่านว่า เป็นโมฆะ คือ ตกลงกันเสียเปล่า

มาตรา๑๓ถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีใด ท่านให้ยกเอาจารีตประเพณีมาปรับแก่คดีนั้น

มาตรา๑๔ถ้าไม่มีบทกฎหมายที่ตะยกมาปรับแก่คดีใด ท่านให้วนิฉัยคดีนั้นอาศัยเทียบบทที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หรือเทียบหลักกฎหมายอันแพร่หลาย

มาตรา๑๕เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายต้องการให้ทำเป็นหนังสือไซร้ ท่านว่า บุคคลผู้จะต้องทำทำหนังสือให้ หรือผู้เป็นคู่กรณีในหนังสือนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเขียนหนังสือเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น ๆ

มาตรา๑๖บททั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งว่าด้วยสมบูรณแห่งสัญญานั้น ท่านให้ยกมาใช้ปรับแก่กรณีย์ใด ๆ ซึ่งจะพึงก่อให้เกิดหนี้ หรือแก้ไขหรือระงับหนี้ แล้วแต่จะพึงได้โดยพฤถิการ

มาตรา๑๖การก่อให้เกิดสิทธิก็ดี ระงับสิทธิหรือแก้ไขสิทธิก็


ประมวลฯ นี้ยกเลิกแล้ว (ดูฟุตโน้ตหน้า ๒๙๗)