หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๕) - ๒๔๖๒.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

แลวันพฤหัศบดี เดือน ๘ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีกุล เอกศก พ.ศ. ๑๔๘๒ (จ.ศ. ๓๐๑) ที่จะทิ้งพระ เจ้าพระยากรงทองก็ทำพระมหาธาตุแลก่อพระเชตุพลวิหารขึ้นพร้อมกันทั้ง ๓ อาราม

ครั้นปีจอ โทศก พ.ศ. ๑๔๙๓ (จ.ศ. ๓๑๒) พระยากุมารกับนางเลือดขาวก็เที่ยวไป ๗ วัน ถึงตรังแขวงเมืองนครศรีธรรมราช พระยากุมารก็ทำพระพุทธรูปเปนพระบรรทมณที่ตรังนั้นองค์หนึ่ง แลเมื่อกลับจากลังการสิงหฬนั้น นางเลือดขาวจึงสร้างอารามพระศรีสรรเพ็ชญ์พุทธสิหิงค์ณที่พักที่ตรังอิกอารามหนึ่ง (เห็นจะเปนครั้งพระเจ้าไสยณรงค์ พระเจ้ากรุงศุโขทัย ให้ทูตเมืองนครศรีธรรมราชไปเชิญพระพุทธสิหิงค์มาแต่เมืองลังกาทวีป ในเวลาเสด็จประพาศเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ราชทูตเห็นจะไปลงเรือที่เมืองตรัง พระยากุมารกับนางเลือดขาวจะไปกับราชทูตในงานเชิญพระพุทธสิหิงค์นี้ด้วย จึงมีศรัทธามากจึงได้สร้างวัดจำลองพระไว้) ครั้นสำเร็จแล้วก็เขียนจาฤกไว้ลงณวันที่ ค่ำ แล้วพระยากุมารกับนางเลือดขาวก็กลับมา ตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. ล่วงได้ ๑๕๐๐ ปี พระยากุมารกับนางเลือดขาวก็อยู่ที่บางแก้วนั้น ต่อมาเรียกที่นั้นว่า “ที่วัด” (คือที่พระกัลปนาสำหรับคณะป่าแก้ววัดเขียน) มีเขตรถึงบ้านดอนจิ่งจาย

ต่อมาพระยากุมารกับนางก็เที่ยวไปถึงแขวงเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างพระพุทธรูปเปนหลายตำบล ก็ตั้งอยู่ณเมืองนคร