หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๕) - ๒๔๖๒.pdf/66

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๕

ขุนภักดีอาษา ขุนภักดีวิเศษ ขุนศรีบริรักษ์ หมื่นพิทักษ์อาษา ขุนศรีวังราช ขุนศรีคชกรรม์ แล ฯ

อนึ่ง กรมการชั้นหมายตั้งเจ้าเมืองนั้น ถ้าเปนหลวงก็เรียกว่าจอม ถ้าเปนขุนก็เรียกว่า (หม่อม) เช่น จอมเมือง จอมนา หม่อมต่างใจ หม่อมต่างตา เปนต้น แต่บางบุคคลที่เปนขุนชั้นตำแหน่งน้อยก็เรียกว่า ขุนนั่น หลวงนี่ ก็มีเหมือนกัน แลที่เรียกกรมการดังนี้ได้ความว่าเมืองนครศรีธรรมราชเปนต้นเดิม แล้วเมืองพัทลุง สงขลา เรียกตาม ที่เรียกเช่นนี้เพื่อเปนการเคารพต่อกรมการผู้นั้น เช่นเรียกพระยาว่าเจ้าคุณ

๑๐วิธีปกครองท้องที่ แบ่งออกเปนตำบลน้อยบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ภูมิท้องที่จะสดวก เรียกว่าอำเภอ ๑ มีหลวง ขุน หมื่น เปนนายตำบล เรียกว่าหัวเมือง ๆ เจ้าเมืองเลือกตั้งแต่งตามที่ชอบด้วยภูมิที่ นายตำบลหรือหัวเมืองมีอำนาจชำระความได้ทุนทรัพย์เบี้ยต่ำแสน นอกกว่านั้นถ้าคู่ความยินยอมก็เปรียบเทียบได้ เว้นแต่ความนครบาล นายตำบลมีน่าที่สำคัญอย่างหนึ่งต้องระวังรักษาการโจรผู้ร้ายโดยกวดขัน กับการทำมาหากินของพลเมือง คือ ถ้าถึงเทศกาลทำนา เปนหน้าที่นายตำบลบังคับให้ชาวนาซึ่งมีนารวมอยู่ทุงหนึ่งหลาย ๆ เจ้าของ ให้เจ้าของนาเหล่านั้นมารวมมือกันแต่งเหมืองน้ำแลลงมือปิดทำนบไขน้ำขึ้นนาครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จการไถหว่านปักดำแล้ว ก็ระดมทำรั้วล้อมอิกครั้งหนึ่ง ประมาณคนหนึ่ง ราว ๒–๓ วา เรียกว่า