ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๓) - ๒๔๕๗.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๓)

นารายน์มหาราชได้จดไว้ กล่าวต้องกันว่า ประเพณีการปกครองเมืองปัตตานีเลือกผู้หญิงในวงษ์ตระกูลเจ้าเมืองซึ่งมีอายุมากจนพ้นเขตรที่จะมีบุตรได้เปนนางพระยาว่าราชการเมืองสืบ ๆ กันมา ประเพณีอย่างนี้ใช้ในบางเมืองในเกาะสุมาตราก่อน แล้วพวกเมืองตานีจึงเอาอย่างมาใช้ พึ่งเลิกประเพณีนี้ในชั้นกรุงศรีอยุทธยาเปนราชธานี ในตอนหลัง ๆ อิกข้อ ๑ ซึ่งกล่าวด้วยการตั้งข้าราชการไทยไปเปนพระยาปัตตานีเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ตลอดมาจนเรื่องแยกเมืองปัตตานีออกเปน ๗ หัวเมืองนั้น ความคลาศกับหนังสือพระราชพงษาวดารอยู่ เรื่องเมืองปัตตานีว่าโดยใจความเปนดังนี้ เมื่อกรุงเก่าเสียแก่พม่าข้าศึก บรรดาหัวเมืองแขกมลายูที่เคยขึ้นกรุงศรีอยุทธยาพากันตั้งเปนอิศร ครั้งกรุงธนบุรียังไม่ได้ปราบปรามลงได้ดังแต่ก่อน มาจนในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร เมื่อปีมเสง สัปตศก พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่ายกกองทัพใหญ่เข้ามาตีสยามประเทศทุกทิศทุกทาง เมื่อไทยรบชนะพม่าที่เข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี แลที่ลงมาทางเหนือ ตีแตกกลับไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จยกทัพหลวงลงไปปราบปรามพม่าทางหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อตีกองทัพพม่าแตกกลับไปหมดแล้ว กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปประทับอยู่ที่เมืองสงขลา มีรับสั่งออกไปถึงบรรดาหัวเมืองแขกมลายูซึ่งเคยขึ้นกรุงศรีอยุทธยาให้มาอ่อนน้อมดังแต่ก่อน พระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู ยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่พระยาปัตตานีขัดแขงไม่มาอ่อนน้อม กรมพระราชวังบวรฯ จึงมีรับสั่งให้