ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๓) - ๒๔๕๗.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๔)

กองทัพยกลงไปตีได้เมืองปัตตานี เมื่อตีได้แล้ว ไม่กล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่าได้ทรงตั้งให้ผู้ใดว่าราชการเมืองปัตตานีก็จริง แต่เหตุการที่เกิดภายหลังทำให้เข้าใจว่า ได้ทรงตั้งให้แขกซึ่งเปนเชื้อวงษ์พระยาปัตตานีเดิมเปนผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี พระยาปัตตานีคนนี้ไม่ซื่อตรงต่อกรุงเทพฯ เมื่อปีรกา เอกศก พ.ศ. ๒๓๓๒ มีหนังสือไปชวนองเชียงสือเจ้าอนัมก๊กให้เปนใจเข้ากันมาตีหัวเมืองในพระราชอาณาจักร องเชียงสือบอกความเข้ามากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต้องยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานีอิกครั้ง ๑ ที่ตั้งไทยเปนผู้ว่าราชการเมืองปัตตานีตามที่กล่าวในหนังสือของพระยาวิเชียรคิรี เห็นจะตั้งเมื่อตีเมืองปัตตานีได้ครั้งที่ ๒ นี้ ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ พม่าคิดจะยกกองทัพเข้ามาตีกรุงสยามอิก พม่าเกลี้ยกล่อมพระยาไทรบุรี ๆ เอาใจไปเผื่อแก่พม่าข้าศึก เลยยุยงพวกมลายูเมืองปัตตานีให้เปนขบถขึ้นด้วย สาเหตุเนื่องกันดังกล่าวมานี้ จึงได้โปรดให้แยกเมืองปัตตานีเดิมออกเปนแต่เมืองเล็ก ๆ ๗ หัวเมือง แต่วงษ์วานชื่อเสียงผู้ว่าราชการเมืองทั้ง ๗ ตามที่พระยาวิเชียรคิรีจดไว้ในพงษาวดารนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าถูกต้อง ด้วยเมืองสงขลาได้กำกับว่ากล่าวมณฑลปัตตานีตลอดมาจนจัดตั้งมณฑลปัตตานีเปนมณฑลเทศาภิบาล ๑ ต่างหากในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี มเมียอัฐศก พ.ศ. ๒๔๔๙

เรื่องพงษาวดารเมืองสงขลานั้น ที่จริงพระยาวิเชียรคิรี (ชม) ตั้งใจจะกล่าวถึงพงษาวดารตระกูลณะสงขลา ยิ่งกว่าจะแต่งเปนพงษาวดาร