หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๕) - ๒๔๗๓.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

มหาดเล็ก เลื่อนขึ้นว่าการในตำแหน่งจตุสดมภ์ที่พระคลังให้ทันในการที่จะจัดรับรองและพูดจากับทูตอังกฤษที่จะเข้ามานั้น[1]

เหตุที่อังกฤษแต่งทูตเข้ามาคราวนั้น ตามที่ปรากฏในหนังสือคำสั่งของมาร์ควิสเหสติงส์ที่ทำให้แก่ครอเฟิดได้ความว่า เกิดแต่ด้วยเรื่องผลประโยชน์ที่ได้ในการค้าขายของบริษัทอิศอินเดียตกต่ำลงทั้งในยุโรปและประเทศทางตะวันออกนี้ เนื่องแต่เหตุที่ฝรั่งต่างชาติเกิดรบพุ่งกัน ไม่เป็นอันที่จะทำมาค้าขายอยู่กว่า ๒๐ ปี ครั้นเมื่อเลิกการสงครามกันแล้ว จึงตั้งต้นที่จะคิดบำรุงการค้าขายให้บริษัทอินเดียอังกฤษได้ผลประโยชน์มากดังแต่ก่อน ความปรากฏแก่อังกฤษว่า แต่ก่อนมาเมืองไทยและเมืองญวนเป็นแหล่งที่พ่อค้าฝรั่งต่างประเทศไปมาค้าขายหากำไรได้มากทั้ง ๒ แห่ง จึงคิดจะกลับให้มีการค้าขายไปมากับ ๒ ประเทศนี้ขึ้นอีก เมื่อปีมะโรง โทศก 


  1. พระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ) นี้ ที่ได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ในรัชชกาลที่ ๔ ในหนังสือที่ครอเฟิดแต่งไว้กล่าวว่า เมื่อครอเฟิดเข้ามา เป็นแต่พระยาสุริยวงศมนตรีว่าที่พระคลัง ต่อมาถึงเดือน ๖ ปีมะเมีย จัตวาศก จึงได้เลื่อนเป็นพระยาสุริยวงศ์โกษาที่พระคลังในเวลาเมื่อครอเฟิดอยู่ในกรุงเทพฯ ความข้อนี้ยังได้พบจดหมายรับสั่งกรมหมื่นศักดิพลเสพฉะบับ ๑ มีถึงพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ลงวันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ ยังเรียกในจดหมายนั้นว่า พระยาพระคลัง เห็นจะได้เป็นเจ้าพระยาพระคลังราวปีมะแมหรือปีวอกในรัชชกาลที่ ๒ นั้น