หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๖๑) - ๒๔๗๙.pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เมืองเงินยางเชียงแสน เพราะเป็นเรื่องราวกล่าวถึงชาติไทยสมัยก่อนที่ยกลงมาเป็นใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ คือพระเจ้าอู่ทองที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ก็ปรากฏว่าสืบเชื้อพระวงศ์ไปจากพระเจ้าพรหมกษัตริย์เมืองเชียงแสนพระองค์หนึ่งที่ทรงอานุภาพมากในสมัยโบราณ ถึงบรรดาพงศาวดารและตำนานเมืองต่าง ๆ ในแคว้นลานนาส่วนมากก็เนื่องไปจากเมืองเชียงแสนนี้ก่อนทั้งนั้น พงศาวดารเมืองเชียงแสนจึงเป็นดั่งบันไดขั้นแรกทีนักศึกษาเรื่องราวของชาติไทยควรทราบ นายชลอ โสฬสจินดา มีความเห็นพ้องด้วย ตกลงรับเอาต้นฉะบับไปจัดพิมพ์ ภายหลังมาแจ้งความเพิ่มเติมว่า ต้นฉะบับที่รับไปพิมพ์มีเรื่องน้อยนัก ไม่จุใจแก่ศรัทธา ขอให้จัดหาเรื่องสำหรับพิมพ์เข้าชุดกันอีกสักเรื่องหนึ่ง กรมศิลปากรมีความยินดีเลือกเรื่องสิงหนวติกุมารให้พิมพ์

สิงหนวติกุมารเป็นตำนานกล่าวถึงเรื่องเมืองเชียงแสนอีกความหนึ่ง มีเรื่องราวและอายุของเรื่องเก่าขึ้นไปกว่าตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน ซึ่งที่ถูกควรจะพิมพ์ตำนวนสิงหนวติกุมารไว้ก่อนพงศาวดารเงินยางเชียงแสน แต่ว่าได้จัดพิมพ์พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเสียก่อนแล้ว จึงต้องพิมพ์ตำนานสิงหนวติกุมารต่อไว้ข้างหลัง

หนังสือ ๒ เรื่องนี้ กรมศิลปากรรวมเข้าไว้ในหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร และจัดเล่มนี้เป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ ประชุมพงศาวดารเป็นหนังสือชุดที่มีผู้นิยมกันมาก ไม่ใช่แต่ในหมู่นักศึกษา