หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๖๑) - ๒๔๗๙.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

สนใจในเรื่องพงศาวดารเท่านั้น ถึงผู้อ่านตามธรรมดาก็ชอบ เพราะเป็นเรื่องให้ความรู้แปลก ๆ และเรื่องก็ต่าง ๆ กัน ถึงกับเสาะแสวงหาเข้าชุดไว้ให้ครบ ทุกวันนี้หนังสือประชุมพงศาวดารบางภาคก็เป็นฉะบับที่หายาก มีผู้ต้องการกันอยู่เสมอ หากได้มีผู้ศรัทธาพิมพ์ขึ้นไว้ ก็จะเป็นธรรมทานสำคัญอย่างหนึ่ง มูลเหตุที่จะเกิดมีหนังสือชุดนี้ขึ้น คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ สมเด็จกรมพระยาคำรงราชานุภาพทรงรวบรวมหนังสือพงศาวดารและตำนานต่าง ๆ ๖ เรื่อง มาพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มเดียวกัน แล้วประทานชื่อหนังสือนั้นว่า “ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑” ได้ทรงอธิบายไว้ว่า การศึกษาหาความรู้พงศาวดารและตำนานการเก่าย่อมถือกันว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาทั่วประเทศ ในประเทศสยามนี้ แม้แต่โบราณมา ท่านผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นต้นแต่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลก่อน ๆ มา ก็ย่อมทรงเป็นพระราชธุระทนุบำรุงความรู้พงศาวดารตลอดมาแทบทุกรัชกาล ส่วนหนังสือพงศาวดารและตำนานในภาษาไทย ที่พิมพ์แล้วก็มี ที่ยังไม่ได้พิมพ์แพร่หลายก็หลายเรื่อง บางเรื่องยาว ซึ่งควรจะพิมพ์ฉะเพาะเรื่อง บางเรื่องเป็นเรื่องดีแต่ไม่สู้ยาว ซึ่งควรรวบรวมหลายเรื่องพิมพ์เป็นเล่มเดียวกันได้ ถ้าพิมพ์ขึ้นให้แพร่หลายได้หมด ก็จะเป็นคุณแก่การศึกษาไม่น้อยทีเดียว เพราะบรรดาผู้ศึกษาจะได้มีโอกาสพบเห็นทำการสอบสวนค้นคว้าได้สะดวก มูลเหตุของหนังสือชุดประชุมพงศาวดารมีดังนี้ ต่อมาได้มีผู้นิยม ก็ได้ทรงรวบรวมตำนานและพงศาวดารต่าง ๆ พิมพ์ต่อไปอีกเป็นภาคที่ ๒ ที่ ๓