หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/46

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
34
พระธรรมสาตร

เลื่องชื่อฦๅนามในสำนักนิพระมหากระษัตรพึง[1] ตั้งตนไว้ให้
พระองควางพระไทยต่างพระเนตรพระกรรณ์ ด้วยมีสันดาน
อันซื่อ แลตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ ศีล ๘ ประการ แลวะจี
สัจสุริต คิดกลัวบาปละอายบาปเปนหิริโอตัปธรรมโลกย
บาลราศรี มีศรัทธาเชื่อผลศีลผลทานการกุศลแลคุณพระศรี
รัตนไตรย ปวตฺตยนฺโต สกโล ปิ นิจฺจํ พึงตั้งเมตตาจิตรเปนบุเร
จาริกในสัตวทังปวง แลมีกะตัญุตาสวามีภักดิจงรักษในพร
มหากระษัตรซึ่งเปนจ้าวแห่งตน อันทรงบำเพญผลโพทธิญาณ
สิกฺเขยฺยมีมํ มหาตา คุเณน เมื่อมีสันดานจิตรคิดถึงพระเดชพระ
มหากระษัตรดั่งนี้แล้ว พึงอุสาหะศึกสาเล่าเรียนให้รอบรู้ ดู
แลเอาใจใส่ในคำภีรพระธรรมสาตร อันอาจให้มีคุณวิเสศ คือ
เปนพระเนตรแห่งพระมหากระษัตร จะได้ตัดข้อคดีแห่ง
อนาประชาราษฎรในขอบเขตขันทเสมาพระราชอาณาจักรให้
ปราศจากหลักตอเสี้ยนหนาม คือ ความมูลวิวาทแห่งพาล
ชาติบุทคลอันมีสันดานเปนทุจริต ให้เปนหิตานุหิตประโยชน์
สิ้นมูลวิวาททุกข ประกอบศุขสถาพรเกษมสารในกาลทุกเมื่อ

  1. ในต้นฉะบับ คำว่า หึง ลบเสีย เพิ่มตาม ก และ ข
ม.ธ.ก.