หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/78

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๗
กฎ ๓๖ ข้อ

19
 ๑๙ อนึ่ง หลวงราชนิกุลรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่ง
ว่า กระลาการผู้ได้ว่าเนื้อความทังปวงนั้น ให้เกาะโจทจำเลย
ให้เร่งว่าเนื้อความนั้นกว่าจะแล้ว
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๕+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๒ ปีขาล โทศก
20
 ๒๐ อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า บ่าวไพร่ในหมู่ย่อมโจทตัวออก
ไปต่างหมู่ ครั้นเจ้าหมู่ผู้พิจารณาเกาะมาพิจารณา ย่อมไปฟ้อง
หากล่าวโทษผู้พิจารณาแลมุนนายนั้น อย่าให้กระลาการเรียก
ค่าฤทชาแก่ผู้ให้พิจารณาแลเจ้าหมู่
 อนึ่ง ราษฎรร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยเนื้อความสิ่งใด ๆ
แลลูกความเหนความข้างตัวนั้นพิรุท แลกลับทำฎีกาทูล
เกล้าฯ ถวายกล่าวโทษหาอาาอุธรกระลาการ 
ข้อ ถ้า
โจทแพ้แก่กระลาการแต่ข้อหนึ่งไซ้ เนื้อความซึ่งหาอา
อุธร 
ข้อ แลเนื้อความเดิมนั้นให้เอาเปนแพ้ด้วยจงสิ้น
ถ้าเปนเนื้อความหลวง ให้ขับเฆี่ยรโจทผู้แพ้นั้นจงหนัก ให้ริบ
ราชบาด เอาตัวเข้าคุก ถ้าเนื้อความราษฎรหาแก่กัน ให้ปรับ
ไหมเอาตามบันดาศักดิตามพระอายการให้ใช้ทุนผู้ชนะ ถ้า
กระลาการแพ้แก่อุธร ถ้าเปนเนื้อความหลวง ให้ขับเฆี่ยรโบย
ตีเอาตัวเอนโทษ ถ้าเนื้อความราษฎรหาแก่กัน ให้ปรับไหม
ตามบันดาศักดิ แล้วให้ใช้ทุนผู้ชนะ แลคู่เบีกนั้นให้ส่งไปแก่
ม.ธ.ก.