ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
9
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

๒. ระบอบที่ดินของชนเชื้อชาติไทยนอกประเทศไทย

5.วิธีปกครองของประเทศอัสสัมเมื่อพวกอาหมเป็นใหญ่[1] มีลักษณะอันคล้ายคลึงกับวิธีปกครองของประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ประชาชนต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทุกคน เว้นเสียแต่พวกขุนนาง นักพรต ผู้มีวรรณสูง และทาษ ชายทุกคนอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีถึง ๕๐ ปีได้ชื่อว่าเป็น ปาอิก (จากคำสันสกฤต ปาทติก คือ ทหารบก) ซึ่งตรงกับคำว่า ไพร่ ชนปาอิกจัดแบ่งเป็นหมู่ ๆ ละ ๒๐ คน ๑๐๐ คน ๑๐๐๐ คน ๓๐๐๐ คน และ ๖๐๐๐ คนเหมือนเช่นกองทัพ มีนายเป็นลำดับกันเป็นชั้น ๆ มีอำนาจเหนือกัน ในประเทศไทย ไพร่ทุกคนต้องรับราชการปีละ ๖ เดือน ฝ่ายประเทศอัสสัมใช้วิธีต่างกัน แต่มีผลทำนองเดียวกัน คือ ปาอิก ๓–๔ คนรวมกันเป็นหมู่ เรียกว่า โคตร์ คนหนึ่งในหมู่ ๓–๔ คนนี้ต้องรับราชการเปลี่ยกันไปคนละปี ในขณะที่คนหนึ่งไปรับราชการนั้น คนที่อยู่เป็นผู้ทำนาทำสวนเพื่อเลี้ยงหมู่ของตนและผู้ที่ไปรับราชการ ในยามสงครามอาจมีการเกณฑ์คนในโคตร์หนึ่งถึง ๒–๓ คนก็ได้ ในเวลาที่บ้านเมืองอยู่เป็นปกติสุขทางการใช้ปาอิกทำการสาธารณประโยชน์ เช่น การสร้างถนนและถังน้ำ ซึ่งเป็นวัตถุที่ยังปรากฎมีอยู่จนบัดนี้.


  1. มหากษัตริย์อาหมเป็นชาติไทยใหญ่หรือเงี้ยว เริ่มตีอาณาเขตต์อัสสัมได้แต่ปี ๑๗๗๑ เรื่อยมาจนเต็มอาณาเขตต์ พวกมองโกลโจมตีหลายครั้ง แต่อาหมต่อสู้และรักษาอิสสระภาพไว้ได้ ในปี ๒๑๙๘ มหากษัตริย์อาหมเข้านับถือลัทธิศาสนาพารหามณ์ และต่อมาผู้สืบราชวงส์ก็นับถือศาสนาพราหมณ์เช่นเดียวกันต่อไป ในตอนกลางสรรตวรรษที่ ๒๓ อำนาจของมหากษัตริย์เสื่อมลง และประเทศอัสสัมตกอยู่ในอารักขาของประเทศพะม่า.
ม.ธ.ก.