11.ส่วนบทกฎหมายที่ดินที่ตราขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์หาได้จัดรวมอยู่ด้วยเหมือนเช่นบทกฎหมายเก่าไม่ แต่กระจัดกระจายอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาหรือในหนังสือประชุมกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งมีผู้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นลำดับ[1] บทกฎหมายนี้นับแต่รัชชกาลที่ ๕ เป็นต้นไปมีมากมายสลับซับซ้อนกัน การค้นคว้าจึงไม่สะดวกเหมือนกฎหมายเก่า แต่ในข้อนี้นักประวัติศาสตร์รับความช่วยเหลือจากผู้แต่งตำราต่าง ๆ ในรัชชกาลที่ ๕ และที่ ๖ ถึงแม้ว่าผู้แต่งมุ่งหมายแต่จะอธิบายบทกฎหมายใหม่นี้ แต่ก็ยังคงเป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากการที่ได้แต่งขึ้นในสมัยที่ยังไม่ได้ใช้กฎหมายปัจจุบันและที่ยังใช้กฎหมายเดิมอยู่บ้าง ในเบื้องต้นมีคำสอนของกรมหลวงราชบุรีฯ ทรงแสดงในโรงเรียนกฎหมาย และจัดพิมพ์ไว้ในปี ร.ศ. ๑๑๙ (๒๔๔๓) คือ ก่อนออกโฉนดแผนที่ ในกาลต่อมามีคำอธิบายว่าด้วยที่ดินของพระสุธรรมวินิจฉัย (ใหญ่ วินิจฉัยกุล) พิมพ์วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๖ คำอธิบายลักษณะที่ดินของหลวงวรวาทวินิจฉัย (สวัสดิ์) พิมพ์ปี ๒๔๕๗ และคำอธิบายกฎหมายลักษณะที่ดินของพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) พิมพ์ปี ๒๔๖๒ ซึ่งเป็นฉะบับที่แพร่หลายมากกว่าฉะบับอื่รน คำอธิบายทั้ง ๓ ฉะบับนี้แต่งขึ้นก่อนใช้ประ
- ↑ นอกจากหนังสือประชุมกฎหมายทั่วไป เช่น ไกรสี ซึ่งได้ระบุชื่อในข้อความทั่วไปของคำสอนปี ๒๔๗๘ นั้น ควรระบุถึงหนังสือประชุมกฎหมายฉะเพาะที่ดิน ๒ ฉะบับ คือ "กฎหมายที่ดิน" ของหลวงดำรงธรรมสารรวบรวมในปี ร.ศ. ๑๓๑ และ "กฎและคำสั่งกระทรวงเกษตราธิการ" ซึ่งรวบรวมพิมพ์โดยคำสั่งกระทรวงเกษตราธิการ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๔ หนังสือ ๒ เล่มนี้รวบรวมกฎหมายบางบทซึ่งมิได้รวมอยู่ในหนังสือประชุมกฎหมายทั่วไป จะพบอ่านได้ก็แต่ฉะเพาะ ๒ เล่มนี้.