หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/9

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
3
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

ชั้นแห่งความเจริญของชุมนุมชน วิธีเลี้ยงชีพ และระบอบการเมือง กฎหมายประเพณีเรื่องที่ดินจึงมีลักษณะต่างกันตามกาลสมัยและประเทศชาติ

พวกคนป่าบางพวกไม่รู้เรื่องกรรมสิทธิในที่ดินเลย เช่น พวกที่หาเลี้ยงชีพโดยการล่าสัตว์หรือการเก็บผลไม้ป่า ถือว่าที่ดินเป็นของกลาง ไม่มีใครหวงห้ามเป็นของตนโดยฉะเพาะได้ ในพวกที่หาเลี้ยงชีพโดยเลี้ยงปสุสัตว์และที่ท่องเที่ยวไปไม่ตั้งรกรากอยู่คงที่ แม้จะเป็นพวกที่เข้ามาสู่ความเจริญบ้างแล้ว เช่น พวกมองโกลและอาหรับก็ดี ที่ดินยังไม่มีเจ้าของ ยังเป็นของกลางอยู่ ต่อเมื่อมีชุมนุมอาศัยการเพาะปลูก จึงเกิดมีผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ในดั้งเดิมที่ดินไม่ตกเป็นขอบุคคลแต่ละคน แต่ตกเป็นของชาติกุล[1] ร่วมกัน และแบ่งปันกันในระหว่างครัวเรือนเป็นระยะสั้น ๆ โดยมากทุปกี ในกาลต่อมา วิธีเพาะปลูกดีขึ้น ผู้ทำต้องการยึดถือที่ดินนานกว่าแต่ก่อน การแบ่งปันจึงค่อย ๆ ขยายเวลาทำกันเป็นเวลานานขึ้น จนในที่สุดก็เลิกเสียทีเดียว ที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิร่วมกันของครอบครัว หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ถือในนามของสมาชิกทั้งหลาย หัวหน้าไม่มีสิทธิโอนให้แก่ใคร เพราะเป็นสมบัติของหมู่ แต่นอกจากนี้หัวหน้ามีอำนาจมาก โดยเป็นผู้ตัดสินเด็ดขาดเรื่องการใช้ประโยชน์ในที่ทุกประการ ในกาลต่อมา อำนาจของหัวหน้าเสื่อมลง เพราะการที่ครอบครัวรวมเป็นชาติ


  1. คำ ชาติกุล นี้ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรใช้เพื่อแปลคำอังกฤษ tribe ในบทประพันธ์ "วิชาการเมือง" อันรวบรวมอยู่ในหนังสือ "ศัพท์สนธิสัญญาและการเมือง" ข้าพเจ้าจึงยืมมาใช้ในคำสอน บทประพันธ์นี้อธิบายถึงขั้นแห่งความเจริญของมนุษย์ นักศึกษาควรอ่านประกอบกับคำสอนหมวดนี้ด้วย.
ม.ธ.ก.