ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ปอท (๒๔๕๔-๐๒-๐๘).pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๑๓๐
เล่ม ๒๘ น่า ๔๕๙
ราชกิจจานุเบกษา

คำว่า "เจ้าพนักงาน" ที่ใช้ในประมวลกฎหมายลักษณอาญานั้น ท่านหมายความตลอดถึง บรรดานายทหารบก นายทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตร์ แลชั้นประทวน ที่อยู่ในกองประจำการนั้นด้วย

คำว่า "ราชสัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึง บรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแขงต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เปนขบถหรือเปนโจรสลัด หรือที่ก่อการจลาจล

คำว่า "ต่อหน้าราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึง ที่อยู่ในเขตร์ซึ่งกองทัพได้กระทำสงครามนั้นด้วย

คำว่า "คำสั่ง" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อความที่นายทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรเปนผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัยแลชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ ท่านว่า เมื่อผู้รับคำสั่งนั้นได้กระทำตามแล้ว ก็เปนอันหมดเขตร์ของการที่สั่งนั้น

คำว่า "ข้อบังคับ" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อบังคับแลกฎต่าง ๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งนายทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัยแลชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย

มาตรา ๕

ทหารคนใดกระทำความผิดอย่างใด ๆ นอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ ท่านว่า มันควรรับอาญาตามลักษณพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้ากฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ให้เปนอย่างอื่น