แสนท้องฟ้า พระยาบวรนายก ไปตั้งอยู่นั้น ก็แต่งให้พระยาราชดึงษา กับพระยามโนไมตรีเจ้าเมืองปัตบอง คุมพลห้าพันไปตั้งซุ่มอยู่ณป่าระนามตำบลพาด ฝ่ายทัพหลวงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยกไปตามลำน้ำโตนดเข้าป่าระนามช่องแคบ พระยาราชดึงษาเห็นกองทัพถลำขึ้นไปก็โจมตี ทัพพระราชมนูก็แตกลงมาถึงน่าช้างพระที่นั่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ให้แยกทัพตีกระหนาบขึ้นไป กองทัพเขมรแตกรี้พลล้มตายเปนอันมาก สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระพิโรธว่า พระราชมนูเปนกองน่าให้เสียทีแก่ข้าศึกจนพะทัพหลวงดังนี้ ตรัศให้ลงโทษถึงชีวิตร สมเด็จพระเอกาทศรฐผู้เปนพระอนุชาธิราชกราบทูลว่า พระราชมนูเปนนายกองทัพน่าพ่ายข้าศึกลงมาประทะทัพหลวงนั้นโทษถึงสิ้นชีวิตร แต่ทว่า ได้โดยเสด็จงานพระราชสงครามก็มาก ประการหนึ่ง การศึกก็ยังมีอยู่ ขอพระราชทานโทษไว้ให้ทำราชการแก้ตัวครั้งหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้าก็บัญชาโดยพระอนุชาธิราช แล้วดำรัศให้พระราชมนูเร่งยกไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว ให้แตกฉาน ทัพหลวงก็เสด็จยกตาม พระราชมนูก็ยกไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว แตกฉานทั้งสองตำบล ได้ผู้คนแลเครื่องสาตราวุธมาถวายเปนอันมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยกพยุหบาตราทัพไปถึงเมืองแลวก ตรัศให้มุขมนตรีนายทัพนายกองเข้าล้อมเมือง แต่งทหารเข้าหักเอาเมือง ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันเปนสามารถ เข้ามิได้ แต่ล้อมเมืองอยู่ถึงสามเดือนเศษ ไพร่พลในกองทัพหลวงขัดเสบียงอาหาร แต่งให้ออกลาดหาเสบียงก็มิได้ เข้าเปนทนานละบาท สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัศว่า เรายกมาครั้งนี้หมายจะได้เข้าในท้องนา
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/235
หน้าตา