ก็หาสมคิดสมคเนไม่ ฝ่ายกรุงกัมพูชาธิบดีเล่า ฝนก็แล้ง เข้าต้นในท้องนาก็ได้ผลน้อย ประการหนึ่ง มิได้มีทัพเรือลำเลียงมาด้วย กองทัพจึงขัดสนเสบียงแลเสียทีมิได้เมือง ถึงดังนั้นก็ดี พอรู้จักกำลังศึกหนักมือเบามืออยู่แล้ว จำเปนจะถอยทัพกลับไปก่อน ครั้นณวัน ๓ ๓ฯ ๔ ค่ำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เลิกทัพกลับยังพระนคร ตรัศให้บำรุงช้างม้ารี้พลไว้ ปีน่าจะยกไปเอากรุงกัมพูชาธิบดีให้ได้.
๏ลุศักราช ๙๔๔ ปีมเมีย จัตวาศก เดือน ๑๒ ข้างแรม พระเจ้าหงษาวดีเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน จึงตรัศปฤกษาด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงว่า ในปีมเสงนั้น เห็นประหนึ่งทัพนเรศวรจะถึงกรุงหงษาวดีแลสงบอยู่มิได้มานั้น ราชการข้างพระนครศรีอยุทธยาจะเปนประการใด จำจะแต่งกองทัพไปตรวจด่าน จะได้ฟังอึงกิดาการแห่งเมืองไทยให้ตระหนักด้วย ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงก็พร้อมโดยพระราชบริหาร สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีก็ตรัศให้พระเจ้าแปรถือพลห้าหมื่น ช้างเครื่อง ๒๐๐ ม้า ๕๐๐ ยกไปตรวจด่านทางแลให้ฟังกฤดิศัพท์ดู ถ้าแผ่นดินพระเจ้านครศรีอยุทธยายังเปนของพระนเรศวรอยู่ อย่าให้ล่วงด่านแดนเข้าไป แต่หญ้าเส้นหนึ่งก็อย่าได้ทำอันตรายเลย ครั้นได้ศุภวารดิถีอุดมฤกษ์ พระเจ้าแปรก็ถวายบังคมลายกช้างม้ารี้พลไปตรวจทางตระเวนด่านโดยสถลมารค ครั้นมาถึงด่านต่อแดนก็แจ้งว่า แผ่นดินยังเปนของพระนเรศวร พระเจ้าแปรมิได้อยู่ในพระราชบัญญัติพระเจ้าหงษาวดี คิดกำเริบจะเอาความชอบ ก็ยกล่วงด่านเข้ามาตั้งอยู่ตำบลสังขล่า เจ้าเมืองกาญจนบุรีรู้ข่าวก็ตรวจตรารักษาค่ายคูประตูหอรบไว้มั่น แล้วก็บอกเข้าไปให้กราบทูล สมเด็จพระเจ้า