ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๓).djvu/71

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๖

กองล้มตายในค่ายนั้นเปนอันมาก ที่เหลืออยู่ก็แตกหนีไปจากค่าย แต่มองญานั้นพาพรรคพวกทหารของตัวหนีขึ้นไปณเมืองนครราชสิมา ไปเข้าด้วยพระยาวรวงษาธิราชซึ่งตั้งอยู่ณด่านจ่อหอนั้น.

ฝ่ายเจ้าตากครั้นตีได้ค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว จึงเสด็จด้วยพลโยธาทหารแห่เข้าไปในค่าย ประทับอยู่ณจวนพระนายกอง จึงพระยาธิเบศบดี ขุนนางเก่าในกรุงเทพมหานครซึ่งตกอยู่ณค่ายโพธิ์สามต้นนั้นมากราบถวายบังคมต้อนรับ จึงตรัศสั่งมิให้พลทหารกระทำอันตรายแก่ผู้คนครอบครัวทั้งปวงอันอยู่ในค่าย แลได้ทรงเห็นราชตระกูล[1] แลข้าราชการเก่าในกรุงซึ่งได้ความทุกขทุรพลลำบาก ก็ทรงพระกรุณาสังเวช จึงพระราช[2] ทานทรัพย์แลสิ่งของต่าง ๆ แก่พวกขุนนางเก่ากับทั้งพระราชวงษานุวงษ์[3] ทั้งนั้น แล้วเสด็จเข้ามาตั้งพลับพลาประทับอยู่ในพระนคร ให้ไปขุดพระศพพระเจ้าแผ่นดินซึ่งพระนายกองฝังไว้นั้น กระทำพระโกษฐตามสังเขปใส่พระศพ แลให้ทำพระเมรุหุ้มด้วยผ้าขาว แล้วเชิญพระบรมโกษฐตั้งที่ในพระเมรุ ตั้งเครื่องบูชาสักการพอสมควร ให้เที่ยวนิมนต์พระสงฆ์ซึ่งเหลืออยู่บ้างนั้นมาสดัปกรณ์ ทรงถวายไทยทานตามสมควร แล้วก็ถวายพระเพลิง.

ครั้นปลงพระศพเสร็จแล้ว จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งไปเที่ยวประพาศทอดพระเนตรทั่วพระนครแลในพระราชวัง เห็นปราสาทแลตำหนักใหญ่น้อยที่ข้างน่าข้างในแลอาวาศบ้านเรือนทั้งปวงในกรุงนั้นเพลิง


  1. เดิมว่า ขัติยวงษา
  2. ประทาน
  3. ขัติยวงษา