หน้า:พญาระกา (คำพิพากษา) - ดำรงราชานุภาพ และอื่น ๆ - ๒๔๕๓.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
39

ตามความในประมวญกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๒ ลักษณที่จะเปนหมิ่นประมาทกล่าวไว้ในกฎหมายว่า ผู้ที่กล่าวต้องกล่าวต่อหน้าคนแต่ ๒ คนขึ้นไป หรือกล่าวแก่บุคคลนับแต่ ๒ คนขึ้นไป อันนับว่า เปนอย่างโทษเบา ประการหนึ่ง ถ้าโฆษนาในสมุดหรือในหนังสือที่มีกำหนดคราวโฆษนา หรือโฆษนาในแบบอย่างแลในจดหมายอย่างใด ๆ นับว่า เปนโทษหนักประการหนึ่ง

กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ชี้แจงว่า เรื่องปักษีปกรณัมนี้ไม่ได้บอกแก่ผู้ใด ๒ คนพร้อมกัน หรือได้ส่งหนังสือไปให้แก่ผู้ใดพิมพ์สองคนพร้อมกัน แลพิมพ์แล้วก็ไม่ได้จำหน่าย ดังอธิบายไว้ในประมวญอาญาราชบุรี ดังนี้ หนังสือประมวญอาญาราชบุรีเปนหนังสือแต่งขึ้นโดยความเห็นเฉภาะพระองค์กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ไม่ใช่ตัวบทกฎหมาย แม้จะว่าประการใด ข้าพระพุทธเจ้าหาได้เอามาเปนหลักในทางวินิจฉัยในคดีเรื่องนี้ไม่ เพราะตัวบทกฎหมายมาตรา ๒๘๒ มีอยู่ชัดว่า ถ้ากล่าวต่อหน้าคนแต่สองคนขึ้นไปก็ดี หรือกล่าวแก่บุคคลนับแต่สองคนขึ้นไปก็ดี กฎหมายว่า เปนถานหมิ่นประมาท ความที่กล่าวแก่บุคคลนับแต่สองคนขึ้นไปนี้ หมายความชัดเจนว่า แม้กล่าวแก่แต่ทีละคน ถ้าจำนวนผู้ที่ได้ฟังแต่สองคนขึ้นไป เปนถานหมิ่นประมาท ในส่วนโฆษณานั้น คำว่า โฆษนา นี้ คนมักเข้าใจว่า ต่อประกาศแผ่เผยดังเช่นพิมพ์หนังสือขายหรือเขียนประกาศเปิดให้ใคร ๆ รู้ได้ทั่วไป จึงจะเปนโฆษนา แต่คำว่า โฆษนา ในกฎหมายมาตรานี้ ไม่ได้หมายความเช่นนั้น แลไม่ได้หมายเฉภาพแต่ว่าต้องพิมพ์ เพราะกฎหมายในมาตรานี้ได้กล่าวความจำแนกไว้ชัดว่า โฆษนาในหนังสือพิมพ์อย่างนั้น ๆ ก็ดี ในแบบอย่างก็ดี