หน้า:พรบ มธ ๒๕๕๘ (๑).pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖๖ ก

๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
หน้า ๖๘
ราชกิจจานุเบกษา

คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๗๓สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นรองศาสตราจารย์พิเศษหรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ

อธิการบดีอาจแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์พิเศษได้โดยคำแนะนำของคณบดี

คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๗๔บุคคลใดได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์พิเศษ หรือได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ หรือตำแหน่งทางวิชาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๗๐ วรรคสาม ให้มีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าวเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป

การใช้คำนำหน้านามตามความในวรรคหนึ่งให้ใช้อักษรย่อ ดังต่อไปนี้

(๑) ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ.
(๒) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ)
(๓) ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ)
(๔) รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ.
(๕) รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ)
(๖) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ.
(๗) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ)

การใช้คำนำหน้านามและการใช้อักษรย่อคำนำหน้านามสำหรับตำแหน่งทางวิชาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย


มาตรา๗๕พนักงานมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

(๑)พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้

(ก)ศาสตราจารย์

(ข)รองศาสตราจารย์

(ค)ผู้ช่วยศาสตราจารย์

(ง)อาจารย์

(จ)ตำแหน่งทางวิชาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๗๐ วรรคสาม