หน้า:พรบ มธ ๒๕๕๘ (๑).pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖๖ ก

๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
หน้า ๖๙
ราชกิจจานุเบกษา

(๒)พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ได้แก่ตำแหน่งซึ่งกำหนดไว้ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

นอกจากพนักงานมหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งแล้ว มหาวิทยาลัยอาจให้มีลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยอีกได้

มาตรา๗๖นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นการพัฒนาบุคลากร การบรรจุ การแต่งตั้ง การให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง การออกจากงาน วินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ของพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้าง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๗๗สภามหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้มีตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งอื่น ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัวสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ มีผลงาน และมีคุณภาพของงานในหน้าที่ที่แสดงถึงการใช้วิชาชีพหรือระดับความสามารถ

คุณสมบัติ หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่ง และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา๗๘พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง

พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับทราบคำสั่ง

มาตรา๗๙ให้มีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาเรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์

องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ อำนาจหน้าที่ ตลอดจนการประชุมและวิธีดำเนินงานของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย


มาตรา๘๐ปริญญามีสามชั้น คือ

ปริญญาเอก เรียกว่า ดุษฎีบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ด.
ปริญญาโท เรียกว่า มหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ม.
ปริญญาตรี เรียกว่า บัณฑิต ใช้อักษรย่อ บ.