หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๕

เสนาบดีผู้บังคับการในหัวเมืองเพิกเฉยเสียก็ไม่มีอำนาจจะไปตักเตือนเอาได้ เมื่อมีถ้อยคำอันใด เสนาบดีกระทรวงก็บังคับไปเสียไม่พูดด้วยสัศดี สัศดีจึงได้ไม่มีอำนาจที่จะบังคับบัญชาอันใดไปได้แลเงินส่วยหรือเงินข้าราชการในตัวเลขหัวเมืองนั้นเล่า สัศดีก็ไม่ได้รู้เห็นเปนผู้รับส่งด้วย ถึงโดยว่าจะได้บาญชีเลขหัวเมืองไว้ก็เปนแต่รู้บาญชีเท่านั้น ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเมืองใดได้ส่งเงินแล้วฤายังไม่ส่งแลไม่มีอำนาจที่จะตักเตือนให้ส่งได้ด้วย เพราะฉนั้นการให้สัศดีรู้บัญชีเลขหัวเมืองนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์พอที่จะตักเตือนมีให้แบบอย่างนี้เสื่อมทรามไป สัศดีคงมีการแต่ที่จะได้เกี่ยวข้องในหัวเมืองแต่เฉพาะคราวที่สักเลขคราวเดียว คงได้บังคับบัญชาอยู่แต่เลขซึ่งขึ้นอยู่ในกรมต่างๆซึ่งเจ้าหมู่อยู่ในกรุงเทพฯและหัวเมืองที่ใกล้ๆได้ชำระเลขจ่ายศาลา แลเรียกข้าราชการไพร่หลวงไพร่สม ในราชการซึ่งยังคงอยู่นี้ สัศดีก็ทำการโดยอ่อนแออย่างยิ่ง จนเงินข้าราชการซึ่งเก็บมาจากตัวเลขนั้นเกือบจะไม่ได้ใช้ราชการอันใด ถึงว่าเปนราชการที่เต็มใจทำอยู่บ้างแต่ก็เปนการยากลำบากได้ ไม่คุ้มเหนื่อย ไม่เต็มใจทำเหมือนชำระเลขนายตายเป็นไพร่หลวง

ส่วนความที่สำหรับศาลกรมพระสุรัศวดีนั้น เมื่ออธิบดีมีอำนาจรับเรื่องราวได้ ก็เปนความเรื่องราวเสียเกือบทั้งสิ้น ไม่ใคร่มีฟ้องประทับ ครั้นเมื่อจะตัดสิน อธิบดีกรมสัศดีก็ตัดสินเอง ด้วยอาไศรยพระราชบัญญัติหมายประกาศแลตัวอย่างคำตัดสินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินได้ตัดสินลงไว้แต่ก่อน ซึ่งเปนการเพิ่มเติมซับซ้อนกันทีละเล็กละน้อย จนลูก