หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/33

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒

ศาลหลวงแล้วประทับไปศาลอุทธรณ์ แต่ครั้นภายหลังมา เพราะเหตุที่ถ้อยความคั่งค้างกันมาก ลูกขุนไม่สามารถที่จะทำการให้ตลอดไปได้พระราชประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดิน จะให้เสนาบดีช่วยรงับทุกข์ร้อนของราษฎรให้แล้วไปโดยเร็ว จึ่งได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อธิบดีเจ้ากระทรวง รับเรื่องราวราษฎรอุทธรณ์กล่าวโทษเจ้าเมืองกรมการแลตระลาการในกรมนั้นๆได้ ความอุทธรณ์ก็ไปเปนเรื่องราวเสียโดยมาก เมื่อท่านอธิบดีในกรมนั้นได้รับเรื่องราวแล้ว ก็ให้เบิกคู่ความเข้ามาตั้งตระลาการชำระในกรมนั้นเอง แล้วบังคับบัญชาตลอดไปจนถึงให้ลูกขุนปฤกษาวางบท ความอุทธรณ์ก็แยกออกไปหลายศาลไม่ฉเพาะแต่ศาลอุทธรณ์อย่างเดิม

๒ ศาลอาญาไปไว้กรมพระกระลาโหม ซึ่งเอาศาลนี้ไปไว้ในกรมพระกระลาโหมนั้น สมุหพระกระลาโหมก็ไม่มีอำนาจอันใดที่จะบังคับตัดสิน คงต้องมาให้ลูกขุนตัดสินทั้งสิ้น เว้นไว้แต่เกิดรับเรื่องราวอุทธรณ์ขึ้นใหม่ สมุหพระกระลาโหมมีอำนาจรับเรื่องราวอุทธรณ์ตระลาการว่ากล่าวได้ ซึ่งเอาไปไว้ในกรมพระกระลาโหมนั้นก็จะมีความประสงค์ ที่จะให้มีอำนาจในการเกาะครองผู้คนให้แขงแรงขึ้น เพราะความอาญาจำเลยย่อมจะเปนผู้มีอำนาจฤาเกะกะโดยมาก

๓ กระทรวงอาญาจักร ซึ่งกำหนดไว้ว่าเปนความหากันด้วยมิใช่ญาติ แก้ความต่างแต่งคารมให้คู่ความ ศาลนี้อยู่ในกรมมหาดไทยแต่ก็เปนกระทรวงร้างไม่มีความตามกำหนดที่จะให้ศาลชำระ ภายหลัง