หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/32

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

ษา ส่วนกรมต่างๆที่รับศาลบังคับบัญชาความไปไว้ในกรมนั้น กลับเปนตัวเสนาบดีกรมยุติธรรม ที่สำหรับจะให้เครื่องจักรในการพิจารณาความเปนไปให้สดวกอย่าให้หยุดอย่าให้ขัดได้ การที่ว่ามานี้เปนพิจารณาแบบแผนเก่า ซึ่งจะให้คิดเห็นว่า ที่ท่านจัดลงเปนแบบแผนแต่เดิมนั้น ประสงค์จะจัดการอย่างไร แต่การภายหลังมานี้ เปลี่ยนแปลงต่อไปอีกเปนอันมาก

ศาลทั้งปวงซึ่งปรากฏในพระธรรมนูญซึ่งเปนกฎหมายเก่า แต่น่าสงไสยว่าจะแก้ไขใหม่หลายคราวตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป แต่มิได้มีฉบับที่ยืนยันว่าฉบับนั้นเปนเก่าฉบับนั้นเปนใหม่ ดูเปนปนๆกัน ฉบับไหนที่แก้ไขเสร็จแล้วก็ใช้ฉบับนั้นฉบับเดียว แบ่งกระทรวงดังนี้

๑ความอุทธรณ์ยกว่าเปนศาลหลวงได้พิจารณา แต่คำว่าศาลหลวงนี้ ถ้าจะคิดเอาว่าเปนพยานว่าศาลหลวงนี้เปนศาลลูกขุน ตามเช่นสงไสยว่าความจะรวมอยู่ในลูกขุน เช่นว่ามาแล้วแต่ก่อนก็ชอบกลอยู่ แต่เหตุใดจึ่งมาแบ่งกระทรวงพร้อมกับศาลอื่นๆ จะเปนด้วยแก้ไขกันต่อๆมาประการใดไม่ได้ความชัด แต่กระทรวงนี้ตกอยู่ในกรมมหาดไทย ศาลนี้เปนศาลที่ว่าความอุทธรณ์ทั้งในกรุงแลหัวเมืองศาลเดียว ถ้าเปนความหัวเมืองคู่ความจะอุทธรณ์ตระลาการ เจ้าเมืองกรมการเปนผู้ชำระอุทธรณ์ตระลาการ ถ้าอุทธรณ์ผู้พิพากษา เจ้าเมืองกรมการที่ไม่ได้ลงชื่อในคำพิพากษาเปนผู้พิจารณาอุทธรณ์ ถ้าจะอุทธรณ์เจ้าเมืองต้องบอกอุทธรณ์ที่ศาลหัวเมืองนั้นก่อน หัวเมืองนั้นชำระไม่ได้จึ่งเข้ามาฟ้องศาลหลวงประทับฟ้องไปศาลอุทธรณ์ ส่วนในกรุงถ้าจะฟ้องอุทธรณ์ก็ฟ้อง