ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/84

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
สำเนา
เรื่องสร้างปราสาทใหม่

ในพงศาวดาร หมอปลัดเลพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๐๖ ในฉบับเจ้าพระยาแต่งเมื่อ ๒๔๑๒ แลในฉบับพระราชหัตถเลขาพิมพ์ ๒๔๕๕ มีความอย่างเดียวกันทั้ง ๓ ฉบับ ว่าดังนี้

ลุศักราช ๑๑๕๑ (พ.ศ. ๒๓๓๒) ปีระกา เอกศก วันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้นค่ำหนึ่ง (๒๔ พฤษภาคม) เวลาบ่ายสามโมงหกบาท ฝนตก อสีบาตลงต้องหน้ามุขเด็จพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทติดเปนเพลงขึ้นไหม้เครื่องบนพระมหาปราสาทกับทั้งหลังคามุขทั้งสี่ทำลายลงสิ้น แล้วเพลิงลามไปติดไหม้พระปรัศซ้ายด้วยอีกหลังหนึ่ง . . . . . . . . . . (กล่าวถึงการดับเพลิง) . . . . . . . . . . แล้วดำรัสสั่งสมุหนายกให้จัดแจงการรื้อปราสาทเก่าเสีย สถาปนาปราสาทขึ้นใหม่ ย่อมเข้ากว่าองค์ก่อน แลปราสาทก่อนนั้นสูงใหญ่เท่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทกรุงเก่า มุขหน้ามุขหลังนั้นยาวกว่ามุขข้าง แลมุขเบื้องหลังนั้นอยู่ที่ข้างใน ยาวไปจรดถึงพระปรัศซ้ายขวา กระทำปราสาทองค์ใหม่นี้ยกออกมาตั้งที่ข้างหน้าทั้งสิ้น มุขทั้งสี่นั้นก็เสมอกันทั้งสี่ทิศ ใหญ่สูงเอาแต่เท่าพระที่นั่งสุริยามรินทร์กรุงเก่า ยกปุราลีเสียมิได้ใส่เหมือนองค์ก่อน แต่ที่มุมยอดทั้งสี่มุมนั้นยกทวยเสีย ใส่รูปครุธเข้าแทน แล้วให้สถาปนาพระที่นั่งขึ้นใหม่ที่ข้างใน ต่อมุมหลังเข้าไปอีกหลังหนึ่ง พอเสมอท้ายมุขปราสาทองค์เก่า พระราชทานนามว่า พระที่นั่งวิมานรัตยา แลพระปรัศดาษดีบุกทั้งสิ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน ครั้นการพระมหาปราสาทลงรักปิดทองเสร็จ จึงพระราชทานนามปราสาทองค์ใหม่ชื่อ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

หนังสือพงศาวดาร ๓ ฉบับนี้เขียนชื่อพระวิมานต่างกันทั้ง ๓ ฉบับ คือ ฉบับแรกเขียนว่า วิมานรัถยา ฉบับที่ ๒ เขียนว่า วิมานรัทธยา ฉบับที่ ๓ เขียนว่าอย่างคัดมาข้างต้นนี้ ตรงกับกระแสพระราชดำริ

๖๒