หน้า:พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๕ และอื่น ๆ.pdf/171

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– 162 –

7.2.3.1เร่งรัดการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้ และมีประสบการณ์การพัฒนาประชาธิปไตยด้วยการปฏิบัติในระดับใกล้ตัว อาทิ สภาตำบล คณะกรรมการหมู่บ้านในรูปแบบต่าง ๆ และสหกรณ์

7.2.3.2แก้ไขปัญหาให้ประชาชน โดยการประสานประโยชน์ระหว่างประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างยุติธรรม

7.2.3.3ผู้มีอำนาจต้องมีความเสียสละ ใจกว้าง อดทน และอดกลั้นต่อสภาพความวุ่นวายทางการเมือง และใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่เป็นเครื่องมือประคับประคองการพัฒนาประชาอธิปไตยและให้กลไกของระบอบประชาธิปไตย แก้ไขความไม่ดีงามด้วยวิถีทางของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ให้ประชาชนเรียนรู้ มีประสบการณ์ถึงสาเหตุ และสภาพปัญหา เพื่อให้สามารถใช้ดุลยพินิจตัดสินใจด้วยตนเองได้

7.2.3.4ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้พรรคการเมืองให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองตามระบอบประชาธิปไตย โดยเมื่อมีปัญหาควรให้ร้องเรียนให้พรรคการเมืองช่วยแก้ปัญหาให้หรือนำเข้าแก้ปัญหาในสภา ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

7.2.3.5นำแนวทางในการเสริมสร้างศรัทธาในความดีงามของประชาธิปไตยตามข้อ 7.2.2.1 มาใช้ประโยชน์

7.2.4การจัดระเบียบการดำเนินบทบาทของกลุ่มพลัง และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ บทบาททางการเมืองของกลุ่มพลัง และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมหรือขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้บทบาทของกลุ่มพลัง และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แสดงบทบาทขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย และต้องปรามให้กลุ่มพลัง และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย และต้องปรามมิให้กลุ่มพลังและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แสดงบทบาทขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย จึงให้มีการจัดระเบียบการดำเนินบทบาทของกลุ่มพลัง และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

7.2.4.1กลุ่มเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมซึ่งขณะนี้จุดอ่อนด้านกลไกรัฐ การจัดสรรทรัพยากร และการกระจายผลประโยชน์ ทำให้กลุ่มเศรษฐกิจบางกลุ่มมีโอกาสและสามารถใช้อิทธิพลผูกขาดทางเศรษฐกิจได้ อันเป็นผลทำให้เกิดไม่เป็นธรรมในสังคม และความยากไร้ทางวัตถุในหมู่ประชาชน