หน้า:พระราชลัญจกร - เสฐียรโกเกศศ - ๒๔๙๓.pdf/30

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

ไปด้วย ส่วนอุณาโลมรูปนี้ อุณาโลม น่าจะเป็นของทางไสยศาสตร์ คือ ตาที่สามของพระอิศวรซึ่งประดิษฐานอยู่ตรงหน้าผาก ที่เอามาใส่ไว้เหนืออักขระโอมนั้น ก็แสดงอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นทางไสยศาสตร์ ตราพระมหาโองการ หมายถึง พระอิศวร ตราครุฑ หมายถึง พระนารายณ์ ตราหงสพิมาน หมายถึง พระพรหม ตราไอราพต หมายถึง พระอินทร์ ฯลฯ แต่ล้วนเป็นทางไสยศาสตร์ทั้งนั้น ที่เรียกว่า อุณาโลม กลัวจะลากเอาเข้ามาสู่พุทธศาสนาทีหลัง ดูไม่เห็นจะเป็นอุณาโลมได้ที่ตรงไหน พระพุทธรูปที่ทำกันในเมืองเราก็เป็นพระนลาฏเกลี้ยง ๆ ไม่มีอุณาโลม มีพระพุทธรูปทางอินเดียเหนือทำมีอุณาโลมอยู่บ้าง แต่ก็ทำเป็นเมล็ดกลมเท่านั้น เป็นสมควรที่สุดที่จะหมายเป็นขนหว่างคิ้ว มีหนังสือท่านอธิบายว่า เป็นขนเส้นยาวขมวดอยู่"

พระราชลัญจกรองค์นี้เป็นตราประจำชาด สร้างในรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำ เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีช้างหมอบอยู่บนหลังตราเป็นที่จับประทับ (จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า ตราช้างหมอบ) ชื่อพระราชลัญจกรดวงนี้ คือ สยามโลกัคราช เทียบเลียนล้อมาจากคำว่า "เสี้ยมโหลก๊กอ๋อง" ในดวงตรามีอักษรขอมอยู่ ๔ บรรทัด (ดู รูปที่ ๑๗) ว่า

  • สฺยามโลกคฺคราชสฺส
  • สนฺเทสลญฺจนํ อิทํ
  • อชฺฌาวาสฺสานุสาสกสฺส
  • วิชเต สพฺพชนฺตุนํ