หน้า:พูดซ้อนคำ - นมส - ๒๔๘๒.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ฉนี้ คำว่า บุหลัน กับ จันทร์ ก็แปลว่า เดือน ทั้ง ๒ คำ กลบ กระหลบ ก็คำเดียวกันอีก จะว่า บุหลัน คำเดียวก็พอ จันทร์ คำเดียวก็ กลบ หรือ กระหลบ คำเดียวก็พอเหมือนกัน เหตุที่ผู้แต่งกลอนใส่ลงไปทั้ง บุหลัน และ จันทร์ ทั้ง กลบ และ กระหลบ ก็เพราะจะเอาสัมผัสให้กลอนไพเราะ เป็นการแสดงความแร้นแค้นในเรื่องถ้อยคำ เป็นทางเสีย ไม่ใช่ทางดี เพราะเติมคำเข้าไปอีกคำหนึ่งโดยไม่จำเป็นเพื่อความเข้าใจ กวีพลาดในทางนี้บ่อย ๆ เพราะไม่ทันคิดบ้าง เพราะอับจนบ้าง เพราะบางสมัยไม่ถือกันว่าไม่ดีบ้าง การใช้คำ ๒ คำควบกันเช่นนี้ เรียกว่า ทับศัพท์

ส่วนที่เราใช้ว่า ซ้อนคำ ในที่นี้ หมายความคนละอย่าง ก่อนที่จะชี้แจงต่อไป ขอกล่าวเหตุดั้งเดิมเสียแต่บัดนี้ว่า วิธีซ้อนคำนั้นจำเป็นเพื่อความเข้าใจ

ตัวอย่างซ้อนคำที่เรายังใช้อยู่มีเป็นต้นว่า "เสื่อสาด" เสื่อ ก็แปลว่า สาด สาด ก็แปลว่า เสื่อ "ทั้งสิ้น" ทั้ง ก็แปลว่า หมด สิ้น ก็แปลว่า หมด ยังมี