หน้า:พูดซ้อนคำ - นมส - ๒๔๘๒.pdf/17

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะเขียนแปลคำอังกฤษว่า This fire is very hot ก็ต้องเขียนว่า ไฝไนไมเตเต (ดูสมุดคู่มือของดอกเตอร์คุฉิง) ซึ่งถ้าเขียนตามอักขรวิธีของไทยกรุงสยาม ก็เขียนว่า ไฟนี้ไหม้แท้ ๆ (ไหม้ แปลว่า ร้อน) ฉะนี้

ส่วนวิธีออกเสียงพูดนั้น ไทยมีสำเนียงผันมาแต่เดิม อาจพูดเสียงสูงต่ำ เช่น ไข ออกเสียงเป็น ไข่ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่แน่ว่า คนฟังจะเข้าใจ จึงต้องพูดซ้อนคำ คือ เอาคำ ๒ คำที่ความอย่างเดียวกันมาพูดซ้อนให้แปลกันไปเองในตัว จะยกตัวอย่างให้เห็นชัด ต้องยกไทยพวกที่ภาษายังไม่เดินมาถึงคั่นเจริญของเรา เป็นต้นว่า ไทยในอาสาม จะพูดว่า ตัด ต้องว่า ขาฟัน (ฆ่าฟัน) เพราะ ขา แปลได้หลายอย่าง และ ฝัน ก็แปลได้หลายอย่าง แต่ทั้ง ๒ คำแปลว่า ตัด ได้ ถ้าใช้รวมกัน ก็เป็นคำอรรถคำแปลในตัว เราไทยกรุงสยามยังพูดว่า ฆ่าฟัน อยู่จนบัดนี้ แต่ไม่ใช่โดย