หน้า:พูดซ้อนคำ - นมส - ๒๔๘๒.pdf/18

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ความจำเป็นเลย อันที่จริง ตามความเดิมแห่งภาษาของเรา ฆ่า กับ ฟัน เดี๋ยวนี้ก็มีความคนละอย่าง แต่ถึงกระนั้น เมื่อเราจะพูดถึง ฆ่า ก็มักจะแถม ฟัน ด้วย ต่างว่า คน ๒ คนที่เรารู้จักเกิดวิวาทเรื่องเล็กน้อย ถึงจะยิงกันด้วยปืน เราเป็นผู้ห้าม เราอาจพูดว่า เรื่องเล็กน้อยเท่านี้ จะถึงฆ่าฟันกันทำไม ฉะนี้ ที่จริงเราหมายว่า ฆ่า คำเดียว เราจะหมายความว่า ฟัน ด้วยก็หามิได้ เพราะเขาจะยิงกันต่างหาก อธิบายเรื่องซ้อนคำโดยนัยที่กล่าวนี้ได้มีแล้วในปาฐกถาของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ว่าด้วย "ความขายตัวแห่งภาษา" (พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๒) แต่ยังหาได้ตั้งศัพท์ "ซ้อนคำ" ลงในคราวนั้นไม่

หลักในเรื่องซ้อนคำ ก็คือ ไทยเรามักพูดเช่นนั้น เพราะจำเป็นเพื่อความเข้าใจของผู้ฟัง ผิดกับทับศัพท์ ซึ่งไม่จำเป็นเพื่อความเข้าใจของผู้ฟัง (หรือผู้อ่าน) นี้เป็นข้อต้น แต่ต่อมา เราพูดซ้อนคำจนติดปาก แม้