หน้า:ยืม ฝาก เก็บ ประนอม พนัน - ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ - ๒๔๘๒.pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ยืม, ฝากทรัพย์, เก็บของในคลังสินค้า, ปราณีประนอม, การพะนันขันต่อ

ประกาศพระราชบัญญัต้ฉะบับนี้ ห้ามไม่ให้ศาลทั้งหลายยกบทอาศัยในลักษณะเบ็ดเสร็จมาใช้อีกต่อไป"

มาตรา"ถ้าเจ้าของที่ดินได้ออกโฉนดแผนที่แล้ว จะให้ผู้หนึ่งผู้ใดอาศัยอยู่ในที่นั้น มีกำหนดเวลาช้าเร็วเท่าใดก็ดี และถ้ามีความประสงค์จะให้ฟ้องร้องกันได้แล้ว ต้องจดทะเบียนไว้ต่อหอทะเบียน … … …"

ตามพระราชบัญญัตินี้ ก็จะเห็นได้อีกว่า การที่ให้ผู้อื่นเข้าอยู่ในที่ดิน เรียกว่า "อาศัย" ไม่ใช่ "ให้ยืม"

คำอธิบายลักษณะที่ดินของพระยาพิจารณาปฤชามาตร์ (สุหร่าย วัชราภัย) เล่ม ๑ หน้า ๓๔๖–๓๕๙ ซึ่งว่าด้วยให้คนอื่นเข้าไปอยู่ในที่ดิน ในคำอธิบายได้ใช้คำศัพท์ "อาศัย" ในเรื่องบุคคลเข้าไปอยู่ในที่ดินของบุคคลอื่น ไม่ได้ใช้คำศัพทื "ยืม" เลย และสิทธิของผู้อาศัยในที่ดินก็แตกต่างกันกับสิทธิของผู้ยืมใช้คงรูป เช่น เจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดยอมให้ผู้อาศัยปลูกเรือนเสาไม้จริงล้อมรั้วเป็นเขตต์อยู่ถึง ๓ ปี ที่ดินนั้นเป็นสิทธิแก่ผู้ขออยู่ แต่จะขายที่ดินนั้นไม่ได้ จะขายคงขายได้แต่เรือนที่ปลูกเท่านั้น หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง ผู้อยู่อาศัยในที่ดินนั้นได้จนตลอดชีวิต (ลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ ๔๒–๔๖) แต่ผู้ยืมใช้คงรูปไม่ได้รับสิทธิอย่างนี้

ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ลักษณะ ๕ ก็ใช้คำว่า "อาศัย" ไม่ได้ใช้คำว่า "ยืม" แต่มาตรา ๑๒๙๙ ว่า การได้

ม.ธ.ก.