หน้า:ยืม ฝาก เก็บ ประนอม พนัน - ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ - ๒๔๘๒.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ยืม, ฝากทรัพย์, เก็บของในคลังสินค้า, ปราณีประนอม, การพะนันขันต่อ

(๔)ผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์นั้นเมื่อได้ใช้สรอยเสร็จแล้ว เช่น ขอยืมแหวนเพื่อแต่งไปชมงามรัฐธรรมนูญ เมื่อไปเที่ยยวมาเสร็จแล้ว ก็ต้องคืนแหวนนั้นให้แก่เจ้าของ

ตามธรรมดาเวลาจะยืมทรัพย์เขาไปใช้ โดยมากเจ้าของมักถามก่อนให้ยืมว่า เมื่อใดจะส่งคืน ผู้ยืมก็จะให้คำตอบว่า เมื่อนั่นเมื่อนี่ จึงเป็นอันกล่าวได้ว่า ผู้ยืมตกลงจะคืนเมื่อใช้เสร็จหรือเมื่อถึงกำหนดเวลา

(๕)ทรัพย์ที่ให้ยืมนั้นต้องเป็นวัตถุมีรูปร่าง สามารถจะส่งมอบแก่กันได้ เช่น สังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๐๑

ในบทวิเคราะห์ศัพท์ที่กล่าวนี้ได้ใช้คำ "ทรัพย์สิน" ซึ่งตามมาตรา ๙๙ หมายความทั้งวัตถุไม่มีรูปร่างด้วย เช่น สิทธิต่าง ๆ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี สิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิฟ้องร้องคดีในโรงศาลนี้ ไม่สามารถที่จะส่งมอบให้ยืมกันได้ ฉะนั้น ที่มาตรา ๖๔๐ ใช้คำว่า "ทรัพย์สิน" ก็ไม่ควรจะตีความเลยไปว่า สิทธิก็เป็นวัตถุที่ใช้ยืมกันได้

ปัญหายังมีอีกว่า "อสังหาริมทรัพยื" จะเป็นวัตถุให้ยืมกันได้หรือไม่ เพราะคำว่า "ทรัพย์สิน" ในบทวิเคราะห์ศัพท์นั้นรวมความถึงอสังหาริมทรัพย์ด้วย

ตามหลักกฎหมายของต่างประเทศ เช่น อังกฤษ เป็นต้น มีว่า ทรัพย์ที่ให้ยืมกันได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น อสังหาริมทรัพย์ (real property) จะเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมไม่ได้ การที่บุคคลหนึ่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งใช้ที่ดินชั่วคราว ไม่ว่าจะใช้ที่ดินนั้นโดยวิธีใด ๆ เช่น ให้

ม.ธ.ก.