หน้า:รวมงาน - วชิราวุธ - ๒๕๐๑.pdf/212

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๐๐

สันสกฤตดังนั้น จะมิต้องเข้าใจละหรือว่าในภารตวรรษ (อินเดีย), อันกำหนดจะเป็นภูมิลำเนาแห่งเรื่องนี้, มิได้เคยมีดอกกุหลาบในโบราณสมัย ? ถ้าในภารตวรรษไม่เคยมีดอกกุหลาบ จะแต่งลงไปว่ามีดูเป็นการฝ่าฝืนธรรมดาไป, อาจทำให้ถูกติว่าเป็นคนกินก็ได้

แต่ข้าพเจ้ายังไม่ยอมปลงใจเชื่อว่า ดอกกุหลาบไม่มีชื่อในภาษามคธหรือสันสกฤต, ข้าพเจ้าจึ่งได้ใช้ให้รองอำมาตย์ โท หลวงธุระกิจภิธาน (ตรี นาคะประทีป) เปรียญ, ค้นดู, หลวงธุระกิจภิธาน ได้ไปปรึกษาพราหมณ์ กุปปุสวามี อารยที่หอพระสมุดวชิรญาณ แล้วและได้รายงานมา ดังต่อไปนี้:-

ชั้นแรก เจตสิกของนักเรียนบาลี ผู้ได้ยินคำว่า "กุหลาบ” ย่อมนึกปราดไปถึงศัพท์ “ชปา” ; ตัวหลวงธุระกิจ ภิธาน, ครั้นมีพราหมณ์กุปปุสวามี อารย เป็นที่ปรึกษา, ได้ความว่า "ชปา” หาใช่ “กุหลาบ” ไม่. ที่ปฏิเสธเด็ดขาดเช่นนี้ เพราะ “ชปา” มิใช่ไม้มีหนาม และกุหลาบไม่มีหนามไม่มี ผลแห่งการค้นต่อไปเป็นอันได้ศัพท์ "กุพฺชก", ซึ่งโมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลไว้ ในปทานุกรมสันสกฤต อังกฤษ, ว่า “Rosa moschata", และซึ่งมีกล่าวในคัมภีร์ธันวันตรีย นิฆัณฏุ ดังนี้:-