หน้า:รวมงาน - วชิราวุธ - ๒๕๐๑.pdf/213

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๐๑
กุพฺชโก ภทฺรตรุณี พฺฤหตฺปุษฺปาติเกสรา
มหาสหา กณฺฏกาฒฺยา นีลาลิกุลสํกุลา:
กุพฺชก: สุรภิ: สฺวาทุ: กษายสฺ ตุ รสายน:
ตฺรีโทษศมโน วฺฤษย: ศีต: สํคฺรหโณปร:

โศลกที่ ๑ กล่าวถึงลักษณะแห่งดอก “กุพฺชก", มีคำแปลว่า: “กุพชก งามดังสาวรุ่น, มีดอกใหญ่, มีเกสรยิ่ง ทนมาก, สะพรั่งด้วยหนาม, มีฝูงผึ้งเชียวเป็นกลุ่ม".

โศลกที่ ๒ กล่าวถึงสรรพคุณ, มีคำแปลว่า: "กุพฺชก มีกลิ่นหอม, กินอร่อย, หวาน, มีรสเลิศ; (เมื่อกินแล้ว) ระงับตรีโทษ (คือกำเริบแห่งลม, ดี, เสมหะ), เจริญราค, เย็นสบาย, แก้โรคเช่นท้องร่วง."

ตามที่หลวงธุระกิจภิธาน ค้นได้ความมาเช่นนี้ ข้าพเจ้าคะเนว่าผู้ที่เป็นนักเลงหนังสือ และนักเรียนคงจะพอใจที่จะได้ทราบด้วย, ข้าพเจ้าจึงได้นำมาลงไว้ในที่นี้, และข้าพเจ้าถือเอาโอกาสนี้เพื่อขอบใจหลวงธุระกิจภิธาน ในการที่ได้เอาใจใส่คันคัพท์นี้ได้สมปรารถนาของข้าพเจ้า.

ก่อนที่ได้ทราบว่า ดอกกุหลาบเรียกว่าอย่างไรในภาษา สันสกฤตนั้น, ข้าพเจ้าได้นึกไว้ว่าจะให้ชื่อนางเอกในเรื่องนี้ตามนามแห่งดอกไม้, แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่า ดอกกุหลาบ คือ