หน้า:ระเบียบ ยธ (๒๕๔๖-๐๘-๑๕).pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง

๕ กันยายน ๒๕๔๖
หน้า ๖
ราชกิจจานุเบกษา

หรือผู้แทน และเจ้าพนักงานเรือนจำตำแหน่งตั้งแต่พัศดีขึ้นไปแห่งเรือนจำท้องที่ที่ประหารชีวิตนักโทษ ๑ คน ร่วมเป็นคณะกรรมการ และในการนี้ ให้มีผู้แทนกรมราชทัณฑ์และผู้กำกับการสถานีตำรวจแห่งท้องที่หรือผู้แทนร่วมเป็นสักขีพยาน

เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่จะตรวจตราระวังให้การประหารชีวิตนักโทษดำเนินการไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน

ข้อ  เมื่อจะต้องทำการประหารชีวิตนักโทษรายใด ให้กรมราชทัณฑ์แจ้งให้เรือนจำทราบพร้อมส่งผลการตรวจสอบรูปถ่ายและลายพิมพ์นิ้วมือที่เก็บรักษาไว้ไปด้วย การประหารชีวิตจะทำในวันเวลาใด ให้เรือนจำเป็นผู้กำหนด และให้แจ้งคณะกรรมการและสักขีพยานตามข้อ ๗ และกองทะเบียนประวัติอาชญากรตามข้อ ๙ ทราบ แต่ทั้งนี้ ให้งดทำการประหารชีวิตในวันหยุดราชการ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันพระ กับวันสำคัญทางศาสนาของนักโทษผู้ที่จะถูกประหารชีวิตนั้น

ข้อ  ก่อนทำการประหารชีวิต ให้ประธานพร้อมด้วยคณะกรรมการตามข้อ ๗ ตรวจสอบผลการตรวจรูปถ่ายและลายพิมพ์นิ้วมือที่กรมราชทัณฑ์ส่งไปกับที่ทางเรือนจำได้เก็บรักษาไว้ตามข้อ ๕ โดยถือเอาผลการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือเป็นสำคัญ แต่ให้นำผลการตรวจสอบรูปถ่ายเป็นข้อมูลประกอบด้วย

การประหารชีวิตนักโทษ ณ เรือนจำที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดปริมณฑล ให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของนักโทษในขณะ ก่อน และหลังการประหารชีวิต โดยพิมพ์ลายนิ้วมือเป็น ๓ ชุด เพื่อตรวจสอบกับลายพิมพ์นิ้วมือนักโทษประหารชีวิตของกองทะเบียนประวัติอาชญากรต่อหน้าคณะกรรมการ เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว