หน้า:รัฐธรรมนูญบริติช (ดิเรก ชัยนาม, 2490).pdf/18

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

(๓) หลักมีพระมหากษัตริย์ เพราะต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามกฎหมายซึ่งวางไว้

(๔) หลักให้คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบในการบริหารบ้านเมือง เพราะว่าคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อสภาสามัญซึ่งถือว่า เป็นผู้แทนของปวงชนบริติช ความรับผิดชอบนี้ไม่อยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในคณะรัฐมนตรีโดยฉะเพาะ แต่ถือว่า คณะรัฐมนตรีทั้งคณะซึ่งมีฐานะเสมือนหนึ่งคณะกรรมการซึ่งสภาสามัญแต่งตั้งไปให้เป็นผู้แทนของเขา

ในหลัก ๔ ประการดังกล่าวมานี้ หลักที่สำคัญที่สุด คือ หลักประชาธิปไตย เพราะผู้แทนราษฎรนั้น ราษฎรที่มีสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้งเป็นผู้เลือกมาโดยตรง พระมหากษัตริย์ก็ดี คณะรัฐมนตรีก็ดี สภาสามัญก็ดี หรือแม้สภาขุนนาง ก็เป็นเพียงเครื่องมือของราษฎรในการดำเนินกิจการของบ้านเมืองให้เป็นไปตามหลักดังกล่าวนี้

บทที่ ๒
พระมหากษัตริย์

ฐานะของพระมหากษัตริย์บริติชนั้นต่างกับประธานาธิบดีของหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งประธาธิบดีอยู่ในพรรคการเมือง แต่พระมหากษัตริย์บริติชไม่อยู่ในพรรคใด ฉะนั้น จึงทำให้ฐานะของ