หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๖) a.pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๖๗

รู้จักกฎหมายดี ฉะนั้น จึ่งได้เสนอไว้ให้คิด หากว่าถึงคราวจริงแล้วจะเดือดร้อน

นายหงวน ทองประเสริฐ ถามว่า ในการที่พระมหากษัตริย์จะขยายเวลาออกเช่นว่านี้ เป็นคำแนะนำของสภาหรือของคณะกรรมการราษฎร

หลวงประดิษฐ์มนูธรรมตอบว่า ตามวิธีการแล้ว ต้องเป็นคณะกรรมการราษฎร กล่าวคือ ในมาตรา ๕๗ มีว่า ในเวลาพระมหากษัตริย์ลงพระบรมนามาภิไธย ต้องมีกรรมการราษฎรคนหนึ่งลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ส่วนที่ว่า ใครจะเห็นสมควรและแนะนำให้ขยายนั้น อาจจะเป็น

(๑) สภา เพราะว่า เห็นสมควรก็จะแจ้งไปยังคณะกรรมการราษฎรตามหน้าที่แห่งการบริหาร เพื่อให้เบนผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือ (๒) ทางคณะกรรมการราษฎร กล่าวคือว่า เมื่อคณะกรรมการราษฎรมีราชการด่วนหรือเรื่องลับอันสมควรจะนำเข้าเสนอสภา ทางคณะกรรมการราษฎรก็กราบบังคมทูลให้ขยายเวลาไปได้เหมือนกัน แล้วนำมาแจ้งให้สภาทราบซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ ๒ อย่าง

ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ถ้าแม้ที่ประชุมตกลงให้แก้มาตรา ๒๙ ตามที่พิจารณากันมาแล้วนั้น เห็นว่า ความในตอนท้ายที่ว่า "การประชุมสามัญประจำปีต่อ ๆ ไป ท่านให้สภากำหนด" นั้น ออกเสียก็ได้ เพราะความข้างบนคงคลุมถึงแล้ว