หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๖) a.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๕๓

ประมาทคนภายนอกได้ ความจริงเชื่อว่า สมาชิกคงได้ตริตรองในการที่จะใช้ถ้อยคำซึ่งจะไม่ให้หมิ่นประมาทบุคคลภายนอก เช่น เรามีการโต้เถียงถึงปัญหา เราก็เชื่อเกียรติยศของสมาชิกว่า จะว่าไม่มีหมิ่นประมาทใคร แต่ถ้าหากว่า ถ้อยคำใดไม่สมควร ประธานก็มีอำนาจที่จะตักเตือนอย่างแบบปาร์เลียเมนต์ที่เคยกระทำมาในต่างประเทศ ความข้อนี้เพื่อไม่ให้คนภายนอกเข้าใจผิดว่า เมื่อเรามาอยู่ในสภาแล้ว เมื่อไม่ชอบใจใคร ก็นำมาถกโดยอาศัยเอกสิทธินี้

พระยาราชวังสันว่า ใครจะขอถือโอกาสกล่าวในที่นี้ และต้องขอโทษ เพราะบางทีจะออกไปนอกเหตุการณ์ ตามที่นายจรูญ สืบแสง กล่าว ในการที่เรามาเป็นสมาชิกนั้น ไม่มีเด็กมีผู้ใหญ่ บรรดาผู้ที่เข้ามาประชุมเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งหรือเหตุการณ์ครั้งนี้บังคับเป็นพิเศษ เป็นผู้มีอายุบรรลุนีติภาวะ มีความรู้มีวัยที่จะพิจารณาเหตุการณ์ได้ การที่กล่าว ต้องกล่าวจากผู้ที่มีความรู้ ไม่ใช่จากอายุ เพราะฉะนั้น ในข้อที่นายจรูญ สืบแสง สงสัย ก็พูดอย่างฐานที่ตัวเป็นเด็กเท่านั้นเอง ซึ่งขอสนับสนุนด้วยบ้าง ธรรมดาการที่จะทำการอะไรสำเร็จ ความสำคัญอยู่ในความแน่ใจในความเห็นของตัวซึ่งแสดงด้วยบริสุทธิใจ บางคราวต้องย้ำคำและยกตัวอย่างประกอบ ซึ่งอาจจะมีได้บ้างและไม่รู้ว่า การเช่นนั้นอาจจะไปพาดพิงความประพฤติของบุคคล ก็อาจเป็นได้ และในการนี้ ถ้าแม้ว่า ประธานเห็นเป็นคำเสียดสีหรือผรุสวาทแล้ว