หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๖) a.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๕๒

ว่า จะผิดเพียงใด ถ้อยคำที่สมาชิกกล่าว หนังสือพิมพ์จะนำไปลง ก็ผิดด้วยเหมือนกัน เพราะมีบทกฎหมายบัญญัติไว้ เว้นไว้แต่สภาได้สั่งให้พิมพ์รายงานหรือถ้อยคำโดยตรง เช่นนั้นแล้ว ผู้พิมพ์ก็อยู่ในความคุ้มครองแห่งบทนี้ด้วยเหมือนกัน

นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่า ตามที่ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้แถลงมานั้น ทำให้เข้าใจว่า ในที่นี้ ทุกคนมีสิทธิที่ะจพูดอะไรได้โดยไม่ต้องเกรงใจ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ มีความเสมอภาค เมื่อผู้ใดมีความเห็นอย่างไร ก็พูดไปตามความเห็น ไม่เกรงใจว่า ผู้ใหญ่จะโกรธหรือน้อยใจ เพราะว่า ความเห็นที่พูดรุนแรงก็เพื่อให้ Convinced ในข้อเสนอ และในมาตรานี้ก็อนุญาตให้พูดได้โดยไม่มีความผิด แต่ถ้าพูดรุนแรงโดยเด็กกระทำบ้างบางครั้งผู้ใหญ่ไม่พอใจ ความจริงนั้น มิใช่ด่า แต่เป็นการพูดสนับสนุนเพื่อเอาชัยชะนะให้ได้ ความเห็นเมื่อกล่าวในที่ประชุมจะถือว่าเป็นการด่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขอให้เป็นที่เข้าใจเสียว่า ถ้าเด็กก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี พูดแล้ว ตามคำอธิบายของประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่า เป็นการเสมอภาค ต้องฟังความเห็นว่า ดีหรือไม่ ถ้าที่ประชุมลงความเห็นว่า ไม่ดี ก็เป็นอันต้องเงียบกันไป ไม่มีการเสียใจภายหลัง

หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกล่าวว่า ขอแถลงในเรื่องหมิ่นประมาทที่ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวนั้น เพื่อทำความเข้าใจสำหรับคนภายนอก เพราะอาจจะคิดไปว่า เมื่อมาอยู่ในนี้แล้ว ก็หมิ่น