หน้า:วินิจฉัย ผผ แดง 180 2564.pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
- ๒ -

๔.๑ กรณีการใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการปิดตลาดนักชุมชน ขณะที่ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ยังสามารถเปิดให้บริการได้ นั้น

๔.๑.๑ สืบเนื่องจากกรณีที่ประเทศไทยพบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ในบางเขตพื้นที่ รัฐบาลจึงต้องดำเนินการยกระดับมาตรการควบคุมที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามเป็นวงกว้าง ประกอบกับพบว่า อาการของผู้ติดเชื้อมีลักษณะอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม คือ ไม่ปรากฏอาการของโรคโดยทันที จึงเป็นเหตุที่ทำให้เชื้อโรคมีการแพร่ระบาดออกไป นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ พิจารณาสั่งปิดสถานที่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคและการแพร่ระบาดของโรคไว้เป็นการชั่วคราว รวมทั้งออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๖) ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๔ กำหนดเงื่อนไขการเปิดดำเนินการภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา และการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนด

๔.๑.๒ กรณีที่มีการปิดตลาดในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ นั้น เป็นการพิจารณาสั่งปิดตลาดที่เป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค มิได้สั่งปิดในทุกตลาด โดยตลาดที่ถูกสั่งปิดจะต้องดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เช่น การทำความสะอาดพื้นที่ ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงดำเนินการตรวจหาผู้ติดเชื้อ ซึ่งหากดำเนินการเป็นไปตามมาตรการป้องกันแล้ว กรมอนามัยจะเข้าไปพิจารณาและประเมินก่อนทำการเปิดตลาดให้ทำการค้าปกติต่อไป สำหรับกรณีห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ นั้น เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่ามีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานที่ดังกล่าว จึงสามารถเปิดทำการได้ตามปกติ แต่เป็นการเปิดภายใต้เงื่อนไขมาตรการคัดกรองและเข้มงวดความปลอดภัยด้านสุขอนามัย กล่าวคือ ให้ผู้มาใช้บริการได้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย สวมหน้ากากอนามัย กำหนดการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จัดให้มีที่ล้างมือ รวมทั้งให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ผ่านแพลตฟอร์ม www.ไทยชนะ.com และแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนไทยชนะ

๔.๒ กรณีการบริหารจัดการของภาครัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนหน้ากากอนามัยจากบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จัดสรรหน้ากาอนามัยให้กับประชาชนยังไม่ทั่วถึง รวมทั้งไม่มีการควบคุมราคาหน้ากากอนามัยที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น) นั้น

๔.๒.๑ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด โดย บริษัท ซี.พี. โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด เป็นผู้ผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ภายใต้โครงการหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ โดยมอบหน้ากากอนามัยผ่านทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหน้ากากอนามัย ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้รับหน้ากากอนามัย และพิจารณาจำนวนในการแจกจ่ายทั้งหมด ปัจจุบัน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้ส่งมอบหน้ากากอนามัยให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๑ ล้านชิ้น และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้มีการส่งมอบหน้ากากอนามัยให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมถึงองค์กรการกุศล และกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มอาสาสมัคร ประมาณ ๑,๐๙๔ แห่ง

/๔.๒.๒ บริษัท...