หน้า:วินิจฉัย ผผ แดง 180 2564.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
- ๓ -

๔.๒.๒ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้นำหน้ากากอนามัยหลายชนิดมาจำหน่ายภายในร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น) สำหรับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ นั้น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มิได้นำหน้ากากอนามัยที่ผลิตภายใต้โครงการหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล และประชาชนทั่วไปของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มาจำหน่ายแต่อย่างใด แต่เป็นการติดต่อกับผู้ผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์รายอื่น โดยกำหนดราคาเป็นไปตามที่กฎหมายควบคุม คือ ชิ้นละ ๒.๕๐ บาท บรรจุกล่องละ ๕๐ ชิ้น ราคากล่องละ ๑๒๕ บาท นอกจากนี้ ร้านสะดวกซื้อของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยังจำหน่ายหน้ากากทางเลือกชนิดอื่นที่สามารถป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค เช่น หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยป้องกนัฝุ่น PM ๒.๕ ซึ่งหน้ากากอนามัยชนิดนี้มักใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคขนาดเล็กได้ หรือทำด้วยวัสดุที่สวยงาม ทนทานต่อการใช้งาน จึงทำให้ราคาหน้ากากอนามัยทางเลือกมีราคาสูงกว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์

๔.๓ กรณีร้องเรียนความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชน นั้น

๔.๓.๑ ประเทศไทยเริ่มมีแผนการจัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชน ตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งในขณะนั้นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 อยู่ในระหว่างการพัฒนา และทดสอบวัคซีน โดยที่ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีน หากวัคซีนที่ทำการจองไม่ประสบควาามสำเร็จ ประเทศไทยจะสูญเสียงบประมาณในการจองวัคซีนไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยต้องทำการจองวัคซีนล่วงหน้าทั้งที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 เกิดขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชบัญญัติการจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้เปิดโอกาสให้สามารถใช้จ่ายงบประมาณในกรณีการวิจัยพัฒนาได้

๔.๓.๒ วัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่จะสามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้ นั้น จะต้องมีการขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งการขึ้นทะเบียนจะพิจารณาองค์ประกอบ ๓ ด้าน ประกอบด้วย คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีน ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 จาก ๓ บริษัท ที่ได้มีคำขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประกอบด้วย บริษัท AstraZeneca จำกัด ได้อนุมัติทะเบียนแล้ว เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ บริษัท Sinovac Biotech จำกัด ได้ยื่นข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร แต่ยังไม่ได้มีการอนุมัติทะเบียน และบริษัท Johnson & Johnson ได้มีการยื่นข้อมูลเพื่อพิจารณาบางส่วน

๕. ข้อกฎหมาย

๕.๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐

๕.๒ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘

๕.๓ พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑

๕.๔ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓

/๕.๕ ข้อกำหนด