สงวนโบราณสถานก่อน วิธีสงวนโบราณสถาน กำหนดการที่ทำเป็น ๓ อย่าง อย่างที่ ๑ คือ การค้นให้รู้ว่ามีโบราณสถานอยู่ที่ใหนบ้าง ดังเช่นราชบัณฑิตยสภาได้มีตราขอให้เทศาภิบาลต่างมณฑลช่วยสืบแล้วบอกมาให้ทราบ เพื่อจะทำบัญชีและหมายลงแผนที่ประเทศสยามไว้เป็นตำรา อย่างที่ ๒ การตรวจ คือ เมื่อรู้ว่าโบราณสถานมีอยู่ณที่ใดแล้ว แต่งให้ผู้เชี่ยวชาญออกไปยังที่นั้น พิจารณาดูให้รู้ว่าเป็นของอย่างไร สร้างในสมัยใด และเป็นของสำคัญเพียงใด การตรวจนี้บางแห่งต้องขุดหาแนวรากผนังและค้นลวดลาย ต้องทำมากบ้างน้อยบ้างตามลักษณสถานนั้น อย่างที่ ๓ การรักษา ซึ่งนับว่าเป็นการยากยิ่งกว่าอย่างอื่น เพราะโบราณสถานในประเทศนี้มีมาก ในเวลานี้ยังเหลือกำลังราชบัณฑิตยสภาที่จะจัดการรักษาได้ทุกแห่ง จึงคิดจะจัดการรักษาแต่ที่เป็นสถานสำคัญและที่พอจะสามารถรักษาได้เสียก่อน ถึงกระนั้น ก็ยังต้องผ่อนผันทำไปทีละน้อย เพราะต้องหาเงินสำหรับจ่ายในการรักษานั้น จำเป็นต้องกำหนดลักษณการรักษาเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นต่ำ เป็นแต่ห้ามปรามมิให้ผู้ใดรื้อทำลายโบราณสถานที่ควรสงวน ชั้นกลาง จัดการถากถางที่บริเวณและค้ำจุนป้องกันตัวโบราณสถานมิให้หักพังอีกต่อไป ยกตัวอย่างดังเช่นได้ทำที่พระราชวังกรุงศรีอยุธยาและที่ในเมืองลพบุรีเป็นต้น การรักษาโบราณสถานซึ่งนับว่าเป็นชั้นสูงนั้น คือ ปฏิสังขรณ์ให้
หน้า:สงวนของ - ดำรง - ๒๔๗๓.pdf/18
หน้าตา