หนีข้าศึกลงมาตั้งเมืองไตรตรึงศ์ (อยู่ในแขวงจังหวัดกำแพงเพ็ชร์) ครองเมืองนั้นสืบเชื้อวงศมาหลายชั่ว เจ้าเมืองไตรตรึงศ์องค์หนึ่งราชธิดาเกิดบุตรขึ้นแต่ยังไม่มีสามี จึงให้ทำพิธีเสี่ยงทายหาบิดาของบุตร ไปได้ความว่าเป็นคนเข็ญใจชื่อนายแสนปม เจ้าเมืองไตรตรึงศ์อัปยศอดสู จึงให้ขับไล่ราชธิดากับกุมารไปเสียจากเมืองไตรตรึงศ์ด้วยกันกับนายแสนปม คนทั้ง ๓ พากันไปอยู่ที่ไร่ (ตรงบ้านโคน) ข้างใต้เมืองไตรตรึงศ์ ด้วยเดชะบุญของกุมารนั้น พระอินทร์ลงมาประทานพรแก่นายแสนปมให้สามารถนฤมิตสมบัติพัสถานได้ตามความประสงค์ นายแสนปมจึงสร้างเมืองขึ้นครอบครองอยู่ณที่นั้น ขนานนามว่า “เมืองเทพนคร” แล้วให้เอาทองคำมาทำเป็นเปลให้กุมารผู้บุตรนอน กุมารนั้นจึงได้นามว่า “เจ้าอู่ทอง” ครั้นต่อมาได้รับรัชทายาทครองเมืองเทพนคร พระเจ้าอู่ทองไม่พอพระหฤทัยที่จะอยู่เมืองเทพนคร จึงอพยพผู้คนย้ายลงมาสร้างพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีณตำบลหนองโสน (เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓) ดังนี้ เรื่องพระเจ้าอู่ทองมีแตกต่างกันเป็นหลายอย่างดังกล่าวมา สันนิษฐานว่า ท่านผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดาร (คือสมเด็จพระวันรัตน วัดพระเชตุพน ในรัชชกาลที่ ๑ และสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระวันรัตนองค์นั้น) คงเห็นว่า เรื่องอย่างที่ ๓ ที่ว่าพระเจ้าอู่ทองลงมาจากเมืองเทพนครมีหลัก
หน้า:สงวนของ - ดำรง - ๒๔๗๓.pdf/6
หน้าตา