หน้า:หนังสือ ศย ๐๑๖-ว๑๔๖.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๒ –

การปฏิเสธสิทธิของหญิงโดยปราศจากเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ เดิม จํากัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินความจําเป็น ไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน จึงได้มีการแก้บทบัญญัติเกี่ยวกับ ความผิดฐานทําให้แท้งลูก โดยกําหนดอายุครรภ์สําหรับความผิดฐานหญิงทําให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก รวมทั้งเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทําให้แท้งลูกตามมาตรา ๓๐๕ โดยมีข้อพิจารณา ดังนี้

๑.มาตรา ๓ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ เป็นต้นไป ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๐๑ และให้ใช้ความใหม่ ข้างต้นแทน ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒ วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทําเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพันจากการเป็นผู้กระทําความผิด และถ้าได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่า ผู้นั้นไม่เคยต้องคําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง" ดังนั้น เมื่อการที่หญิงทําให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป หากกรณีดังกล่าว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ศาลจะต้องยกฟ้อง และหากจําเลยรับโทษอยู่ โทษนั้นก็จะต้องลิ้นสุดลง ในกรณีที่หญิงมีอายุครรภ์เกิน ๑๒ สัปดาห์ทําแท้งด้วยตนเองหรือยอมให้ผู้อื่นทําแท้งให้ตนเองโดยไม่มีเหตุให้ทําแท้งได้ตามมาตรา ๓๐๕ เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา ๓๐๑ กําหนดอัตราโทษจําคุกไม่เกิน ๒ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งน้อยกว่าอัตราโทษตามมาตรา ๓๐๑ เดิม ดังนั้น หากเป็นกรณีดังกล่าว และจําเลยถูกจําคุกมาเกิน ๒ เดือน จะต้องปล่อยตัวไป เช่นเดียวกัน หากจําเลยชำาระค่าปรับเกินกว่า ๑๐๐๐๐ บาท และคดียังไม่ถึงที่สุด ศาลย่อมกําหนดโทษปรับใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ และจําเลยสามารถขอคืนค่าปรับในส่วนที่เกินได้

๒.การทําแท้งที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) มีดังต่อไปนี้

๒.๑กรณีอายุครรภ์ไม่เกิน ๑๒ สัปดาห์ หญิงทําให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแห้งลูก หญิงนั้นไม่มีความผิด ดังนั้น เมื่อหญิงไม่มีความผิด ผู้ใช้ ตัวการ และผู้สนับสนุนให้หญิงทําแท้งขณะอายุครรภ์ไม่เกิน ๑๒ สัปดาห์ โดยไม่ได้เป็นผู้ทําแท้งให้หญิง ก็ไม่มีความผิดเช่นกัน ยกเว้นกรณีเป็นตัวการร่วมถึงขั้นเป็นผู้ลงมือทําแท้งให้หญิงนั้นเองตามมาตรา ๓๐๒

๒.๒กรณีอายุครรภ์เกิน ๑๒ สัปดาห์ แต่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๐๕ คือ กระทําโดยแพทย์ตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา เนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ หญิงและแพทย์ไม่มีความผิด

(๑)การตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิง มีข้อควรสังเกตว่า มาตรา ๓๐๕ เดิม กําหนดเหตุยกเว้นความผิดว่า จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากสุขภาพ ของหญิงนั้นเท่านั้น แต่มาตรา ๓๐๕ ที่แก้ไขใหม่ได้ขยายความคําว่า สุขภาพ ว่า รวมถึงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วย