หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/12

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ภาคที่ ๑ ลักษณะอักษร

เสียงในภาษาไทย

ข้อ ๒. บรรดาเสียงในภาษาไทยที่ใช้พูดจากันมีอยู่ ๓ อย่าง คือ:–

(๑) เสียงแท้ ชื่อเสียงที่ออกมาจากผ้าคอตรง ๆ ซึ่งไม่ต้องใช้ ถิ่นหรือริมฝีปากดัดแปลงให้ปรวนแปรไป เช่น เสียงเด็กอ่อนๆ หรือสัตว์ ร้องออกมา ปรากฏเป็น ออ, อา, อือ, เออ เป็นต้น

(๒) เสียงแปร คือเสียงแท้ที่เปล่งออกมาแล้วกระติกลมให้กระทบคอ เพดาน ฟัน หรือริมฝีปาก ทำให้เสียงปรวนแปรเป็นเสียงต่าง ๆ ไป ปรากฏเป็น กอ, จอ, ดอ, บอ เป็นต้น

(๓) เสียงดนตรี คือเสียงแท้หรือเสียงแปร ซึ่งผู้เปล่งทำให้เป็นเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ อย่างเสียงเครื่องดนตรี ปรากฏเป็น กอ, ก่อ, ก้อ, ก๊อ, ก๋อ เป็นต้น

ตัวอักษรตั้งขึ้นตามเสียง

ข้อ ๓. เมื่อเสียงในภาษาไทยใช้พูดจากันเป็น ๓ อย่างเช่นนี้ ท่านจึงได้ตั้งตัวอักษร ขึ้นเป็น ๓ อย่าง เพื่อแทนเลี้ยงทั้ง ๓ นั้น คือ :–

(๑) อักษรสำหรับแทนเสียงแท้ให้ชื่อว่า ‘สระ’

(๒) อักษรสำหรับแทนเสียงแปรให้ชื่อว่า ‘พยัญชนะ’

(๓) อักษรสำหรับแทนเสียงดนตรีให้ชื่อว่า ‘วรรณยุกต์’

มูลรากแห่งตัวอักษร

ข้อ ๔. ตัวอักษร คือ สระ และพยัญชนะนั้น มีรากเหง้ามาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักที่จะสังเกตได้ คือ:–