หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

(๑) ลักษณะรูปตัวอักษรของชาติต่าง ๆ ที่ถ่ายแบบมาจากบาลีและสันสกฤต เช่น เขมร ลาว มอญ ฯลฯ ยังตั้งเกตได้ว่าละม้ายคล้ายคลึงกัน

(๒) การจัดลำดับตัวอักษรก็คล้ายกัน คือเอาสระไว้ก่อน แล้ว ถึงพยัญชนะ และจัดเป็นวรรค ๆ เรียงกันไปตามลำดับฐาน (ที่เกิดของอักษร) คือ คอ เพดาน เหงือก ฟัน และริมฝีปาก

(๓) วิธีประสมอักษรเอาสระไว้ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง

ส่วนวรรณยุกต์นั้นในภาษาบาลีและสันสกฤตไม่มี ที่จริงไม่ว่าภาษาใด ย่อมมีเสียงดนตรี คือเสียง สูง ๆ ต่ำ ๆ ด้วยกันทั้งนั้น แต่บางภาษาก็ไม่นิยมให้เนื้อความของค่าที่มีเสียงสูงต่ำนั้นแปลกออกไป เช่นจะกล่าวว่า ‘ขา’ ‘ข่า’ หรือ ‘ข้า’ ก็มี เนื้อความอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้าษาเหล่านั้นจึงไม่จำเป็นต้องตั้งตัวอักษรขึ้นแทนเสียงดนตรี เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต อังกฤษ เป็นต้น ซึ่งนับว่าไม่มีวรรณยุกต์ แต่นาง ภาษากนิยมใช้พูดเสียงสูงต่ำให้มีความหมายต่างกัน เช่น ภาษาจีน ส่วน ไทยเราอยู่ใกล้จีนและนิยมใช้สำเนียงดนตรีคล้ายจน จึงต้องตั้งตัวอักษร จำพวกวรรณยุกต์เพิ่มเติมในอีกเพื่อให้พอกับสำเนียงที่ใช้อยู่

สระ

รูปสระ

ข้อ ๕. สระในภาษาไทยนั้นแปลกออกไปจากบาลีและสันสกฤต และภาษาอื่น ๆ ที่ถ่ายแบบ มาด้วยกัน คือ ภาษาเหล่านั้น มีรูปสระเป็น